“โปรตีนจากพืช” สูตรลับจากธรรมชาติสู่อายุที่ยืนยาว
.
งานวิจัยชี้ หากเราหันมาบริโภค “โปรตีน” จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ แต่โปรตีนที่ว่านี้ไม่ใช่โปรตีนจากเนื้อสัตว์นะคะ เพราะโปรตีนที่ทำให้เราสุขภาพดีจนมีอายุที่ยืนยาวนั้น แท้จริงแล้วเป็นโปรตีนที่มาจาก”พืช” ต่างหาก ก่อนที่เราจะไปดูสรรพคุณต่าง ๆ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าโปรตีนจากพืชนั้นคืออะไร
.
โปรตีนจากพืชคืออะไร?
.
คือโปรตีนที่ได้จากพืชที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ โปรตีนจากธัญพืช, โปรตีนจากถั่ว, โปรตีนจากเมล็ดพืช, โปรตีนจากหญ้าที่ไม่ใช่ธัญพืช และโปรตีนจากพืชผัก
.
ประโยชน์ของโปรตีนจากพืชมีอะไรบ้าง?
.
มี “ไฟเบอร์” สูง ทำให้อิ่มท้องนานและลดโอกาสที่จะสรรหาขนมหรืออาหารที่มีแคลอรี่สูงมารับประทานจนเกิดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้โปรตีนจากพืชยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งการอักเสบตามร่างกาย, โรคมะเร็ง, โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด
.
ซึ่งสรรพคุณต้านโรคร้ายเหล่านี้ ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยที่สำรวจแล้วว่า ผู้ที่บริโภคผักผลไม้หรือโปรตีนจากพืชเป็นประจำในเวลาเฉลี่ย 7 ปี จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเหล่านี้น้อยลงถึง 22%
.
ใครบ้างที่เหมาะกับการรับประทานโปรตีนจากพืช?
.
คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
โปรตีนจากพืชมีแคลอรี่ต่ำ แต่มีใยอาหารสูงที่ทำให้อิ่มท้อง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ จึงทำให้การลดน้ำหนักนั้นเฮลตี้และเป็นมิตรต่อร่างกายค่ะ
.
ผู้สูงอายุ
โปรตีนจากพืชเป็นทางเลือกที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุมักรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ค่อยได้ เนื่องจากประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารนั้นลดลงตามสภาพร่างกาย อีกทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ยังทำให้ผู้สูงอายุส่วนมากท้องอืดและอาหารไม่ย่อย
.
กลุ่มคนออกกำลังกาย
เพราะโปรตีนจากพืชช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดี แต่มีข้อแม้คือจะทำให้เรากินเวย์โปรตีนร่วมด้วยไม่ได้ เพราะโปรตีนจากพืชมีปฎิกิริยาต่อต้านแลคโตส (น้ำตาลจากผลิตภัณฑ์นม) นั้นเอง
.
แหล่งโปรตีนจากพืชหาจากที่ไหนได้บ้าง?
.
ใครว่าสุขภาพดีหาซื้อที่ไหนไม่ได้ หาซื้อได้นะคะ เพียงแค่ซื้อวัตถุดิบเหล่านี้ตามท้องตลาด เราก็จะได้สุขภาพที่ดีไปแบบเต็ม ๆ
.
วัตถุดิบที่เป็นแหล่งโปรตีนจากพืช
.
1) โปรตีนจากธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวหอมมะลิ
2) โปรตีนจากถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ถั่วดาวอินคา ถั่วอัลมอนด์
3) โปรตีนจากเมล็ดพืช เช่น เมล็ดแฟล็กซ์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา
4) โปรตีนจากหญ้าที่ไม่ใช่ธัญพืช เช่น บักวีท เมล็ดเจีย ควินัว
5) โปรตีนจากพืชผัก เช่น บร็อกโคลี กะหล่ำดอก สะตอ
.
และนี่ก็คือประโยชน์ดี ๆ มากมายที่เราจะได้รับจากการรับประทานโปรตีนจากพืชนั่นเอง ซึ่งทำตามได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารในแต่ละวัน หวังว่าข้อมูลในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่ใส่ใจและรักสุขภาพกันนะคะ เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีนั้นไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอนค่ะ