กระดูกพรุน ภัยเงียบที่คุณอาจไม่รู้ตัว แค่ล้ม…กระดูกสันหลังอาจหักได้ . เมื่อคุณ…

กระดูกพรุน ภัยเงียบที่คุณอาจไม่รู้ตัว ‼️
แค่ล้ม…กระดูกสันหลังอาจหักได้ 🧑‍🦽
.
เมื่อคุณอายุมากขึ้น เนื้อเยื่อของกระดูกเก่าก็จะสลายได้เร็วมากกว่าการสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งจะทำให้กระดูกมีรูพรุนและเปราะบางมากขึ้น กระดูกพรุนหากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ด้านในของกระดูกจะมีช่องว่างเล็กๆ คล้ายรังผึ้ง เมื่อปล่อยไปนานๆ ขนาดของช่องว่างเหล่านั้นก็จะขยายใหญ่และมีรูพรุนมากขึ้น ทำให้กระดูกสูญเสียความแข็งแรงและความหนาแน่นไป กระดูกจึงอ่อนแอและบางลง เสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น
.
ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมีความเสี่ยงสูงที่จะกระดูกหักได้ง่ายขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การยืน การเดิน โดยกระดูกที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กระดูกสะโพก กระดูกซี่โครง กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง
.
ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุน 💢
⚠️ อายุ ตลอดชีวิตของเราร่างกายจะมีการสลายกระดูกเก่าและสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมา แต่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะเริ่มสลายกระดูกเก่าเร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง และเปราะบางมากขึ้น
⚠️ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้ผู้หญิงสูญเสียกระดูกเร็วขึ้น (ผู้ชายก็สูญเสียกระดูกในวัยนี้เช่นกันแต่อาจช้ากว่าผู้หญิง)
⚠️ ขาดแคลเซียม อาจได้รับสารอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือมีการใช้ยาที่ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร
⚠️ ขาดวิตามิน D อาจเพราะไม่ค่อยได้รับแสงแดด หรือได้รับสารอาหารที่มีวิตามิน D ในปริมาณน้อย เพราะวิตามิน D มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเพื่อไปสร้างมวลกระดูก
⚠️ รูปร่างผอม ในคนที่รูปร่างผอมหรือมีน้ำหนักน้อยเกินไป เสี่ยงเกิดกระดูกพรุนได้ง่ายเพราะมีมวลกระดูกหรือความหนาแน่นของกระดูกน้อย
⚠️ ดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นประจำหรือมากเกินไป ซึ่งอาหารจำพวก ชา กาแฟ หรืออาหารที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ จะไปลดการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้น้อยลง
⚠️ สูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่จะไปทำลายเซลล์มวลกระดูกให้บางลง คนที่สูบบุหรี่จัดยิ่งเสี่ยงเกิดกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น
.
สัญญาณของโรคกระดูกพรุนระยะเริ่มต้น ‼️
🔺 เล็บเปราะ หักง่าย ความแข็งแรงของเล็บบ่งบอกถึงสุขภาพของกระดูกได้ (แต่ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อเล็บด้วย เช่น การใช้น้ำยาล้างเล็บ การต่อเล็บเป็นประจำ หรือ การแช่น้ำเป็นเวลานาน)
🔺 ล้มง่าย อาจเพราะแรงยึดเกาะของกระดูกที่อ่อนแอลง ในการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่หมดประจำเดือน มีความหนาแน่นของกระดูกที่ต่ำ ทำให้แรงยึดเกาะต่ำไปด้วย จึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้มมากยิ่งขึ้น
🔺 เหงือกร่น เหงือกบางหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเหงือกและฟันบ่อยๆ อาจเกิดจากการที่กรามเริ่มสูญเสียกระดูก (ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจการสูญเสียกระดูกที่กรามหรือขากรรไกร)
.
สัญญาณของโรคกระดูกพรุนระยะหลัง ‼️
🔺 กระดูกแตก หัก ได้ง่าย เป็นสัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของกระดูกพรุน ซึ่งการแตกหักของกระดูกอาจเกิดจากเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย เช่น การเดินลงบันได การเอี้ยวตัว การไอหรือจามที่แรงๆ ก็สามารถทำให้เกิดกระดูกหักหรือแตกได้
🔺 เตี้ยลง เพราะการสูญเสียมวลกระดูก เกิดการจากกดทับของกระดูกสันหลังทำให้เตี้ยลง
🔺 ปวดหลังหรือคอ เกิดการการกดทับของกระดูกสันหลังที่ไปทับเส้นประสาทที่แผ่ออกมาจากไขสันหลัง อาจเริ่มจากการปวดเพียงเล็กน้อยและเริ่มเจ็บปวดมากขึ้นจนทำให้ร่างกายทรุดโทรม
🔺 หลังค่อม (Kyphosis) เกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก มีการบีบอัดของกระดูกสันหลังทำให้กระดูกสันหลังส่วนบนโค้งมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหลังและคอ
.
✨ การป้องกันโรคกระดูกพรุน
➠ ออกกำลังกายเป็นประจำ 🏃เน้นการออกกำลังกายแบบการลงน้ำหนักเพื่อช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก เช่น เดิน วิ่ง เต้นรำ เต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเก็ตบอล แบดมินตัน เป็นต้น
➠ เลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ❌ เช่น แอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
➠ รับวิตามิน D บ้าง 🌞 เพราะวิตามิน D มีความสำคัญต่อร่างกายในการดูดซึมแคลเซียม เช่น การออกแดดบ้าง กินไข่แดง ปลาแซลมอน ปลาทูน่า สาหร่าย หรือรับวิตามิน D แบบอาหารเสริม
➠ กินแคลเซียมให้เพียงพอ 🐟 เพราะแคลเซียมช่วยให้กระดูกแข็งแรง เช่น บรอกโคลี กระหล่ำปลี ผักคะน้า ปลาเล็กปลาน้อย ปลาแซลมอน กุ้งฝอย โยเกิร์ต ชีส หรือผลิตภันฑ์อาหารเสริมแคลเซียม ที่อยู่ในฟอร์มคีเลตแคลเซียม,แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (ไม่แนะนำแคลเซียมคาร์บอเนต เพราะเมื่อกินเข้าไปจะกลายเป็นหินปูนไปเกาะตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเสื่อมและเกิดปัญหาโรคต่างๆ ตามมา)
✨ ควรกินแคลเซียมคู่กับวิตามินดี จะช่วยดูดซึมแคลเซียมจากอาหาร และวิตามินเค 2 จะช่วยพาแคลเซียมไปกระดูก ไม่ให้เหลือไปเกาะหลอดเลือด ไม่ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว
.
เมื่อรู้แล้วว่าโรคกระดูกพรุนเกิดได้จากการที่เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะสลายกระดูกเก่าเร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมา แต่ก็อย่าละเลยในตอนอายุน้อย เพราะแม้ว่าจะอายุน้อยอยู่ร่างกายก็มีการสลายกระดูกเช่นกัน หากอายุน้อยแล้วยิ่งกระตุ้นให้ร่างกายสลายมวลกระดูกเร็วขึ้น แบบนั้นกระดูกพรุนคงหนีไม่ไกล ที่ไม่ต้องรอให้อายุมากก็เกิดขึ้นได้แล้วเช่นกัน จึงควรสังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเองและคนรอบข้างดูว่าเสี่ยงเกิดกระดูกพรุนหรือไม่ หากมีอาการก็อย่ารอช้าควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไปนะคะ การดูแลสุขภาพเป็นประจำ คือ สิ่งที่เราควรทำในทุกวัน เพื่อชีวิตที่ยืนยาวกันนะคะ : )
.
#อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #กระดูกพรุน #แคลเซียม #วิตามินD #กระดูกบาง #กระดูกพรุน

ติดต่อเรา