การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสที่หายแล้ว แล้วรักษาตัวที่บ้านควรทำอย่างไร? Post-Cov…

การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสที่หายแล้ว แล้วรักษาตัวที่บ้านควรทำอย่างไร?

Post-Covid หรือ Long Covid Syndrome คือ คนที่ป่วยหรือติดเชื้อไวรัสแล้วหายป่วยแล้ว แต่ยังมีอาการอ่อนเพลีย ป่วยเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกเหนื่อย รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มอิ่ม จะมีอาการเหล่านี้สูงถึง 80% ของคนที่ติดเชื้อเลยทีเดียว จริงๆ แล้วมีทฤษฎีอยู่หลายอย่างเหมือนกัน คือ
ทฤษฎีที่ 1 เมื่อเราติดเชื้อระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานแล้วเกิดความไม่สมดุล เลยเกิดสิ่งที่เรียวกว่า Autoimmune Disease เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของเรามาทำลายเนื้อเยื่อของเราเอง จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าตามมาได้ โดยอาการเหล่านี้จะอยู่ได้ 4-24 สัปดาห์ หรือตั้งแต่ 1-6 เดือนขึ้นไปเลย

ทฤษฎีที่ 2 เกิดจากเศษซากของไวรัสที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยตัวตุ่มหนามของไวรัสก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ เพราะฉะนั้นจึงมีการอักเสบที่สูงอยู่มากในร่างกาย

ทฤษฎีที่ 3 เกิดจากการอักเสบที่สูงอยู่อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ควรทำ คือ การลดการอักเสบ

ทฤษฎีที่ 4 เกิดจากเนื้อเยื่อของเราโดนทำร้ายไปเยอะเลยเกิดอาหารเหล่านี้ตามมาได้หลังจากติดเชื้อไวรัส

วิธีแก้ควรทำอย่างไร?
เนื่องจากร่างกายของเราเมื่อติดเชื้อไวรัสจะมีการอักเสบเกิดขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้ตัวช่วยที่ช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย คือ
Fish Oil (น้ำมันปลา) โดยเน้นให้ EPA 50% ขึ้นไป เช่น ใน 1 เม็ด 1,000 mg ควรมี EPA 500 ขึ้นไป ช่วยลดการอักเสบที่เกิดในร่างกายได้เป็นอย่างดี
Quercetin (เควอซิติน) เป็นสารสกัดจากเปลือกหอมแดง ซึ่งช่วยลดการอักเสบได้ดี Quercetin สามารถทานเพื่อป้องกันไวรัสได้ มีกลไกการทำงานที่สามารถช่วยป้องกันไวรัสเข้าเซลล์ได้ และช่วยลดการอักเสบได้ ยิ่งในผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้เมื่อได้รับ Quercetin ได้จะยิ่งดี ซึ่งการที่เรามีภูมิแพ้ มีหอบหืด จะมีเกิดความเสี่ยงที่จะเจ็บหนักสูงขึ้น (คนที่เป็นภูมิแพ้หากได้รับ Quercetin จะมีอาการดีขึ้นภายใน 1 อาทิตย์)
เครื่องดื่ม น้ำขิง หากทานน้ำขิงเวลาที่ทานให้ใช้ขิงสดจะดีกว่าขิงผง โดยนำตัวขิงสดไปหั่นก่อน เมื่อหั่นเสร็จแล้วจึงนำไปตำ เวลาตำจะได้น้ำมันหอมระเหยออกมาได้เยอะ จากนั้นจึงนำไปต้ม ซึ่งน้ำมันหอมระเหยนั้นจะช่วยในเรื่องของการลดการอักเสบได้ดี
การออกกำลังกาย โดยเน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ปั่นจักรยาน โยคะ ชี่กง ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้จะทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมได้ออกกำลัง ได้เคลื่อนไหว โดยควรเน้นที่เรื่องการออกกำลังให้กับปอดจะช่วยให้เรื่องเหนื่อย อ่อนเพลียต่างๆ กลับมาดีขึ้นได้

กลุ่มยาแก้ไอที่ไม่ควรทานเมื่อคุณติดเชื้อ
การไอเป็นกลไกลธรรมชาติที่จะขับเชื้อออกมา ซึ่งมีตัวยาแก้ไอ 2 กลุ่มที่ไม่ควรทานเมื่อติดเชื้อ คือ 1. Dextromethorphan 2. Codeine เป็นยากดการไอ ไม่ควรใช้ ซึ่งยาที่กล่าวมานั้นเป็นยาแก้ไอก็จริง แต่ฤทธิ์ของยา คือ กดการไอ ซึ่งการไอเป็นกลไกตามธรรมชาติที่จะขับเชื้อออกมา เมื่อเวลาที่เรามีเชื้อเข้ามากลไกในร่างกายของเราจะมีการสร้างเสมหะเพื่อจะไปจับเชื้อ โดยเสมหะมีลักษณะเหนียวเพื่อให้เชื้อติดอยู่กับเสมหะนั้น ซึ่งในทางเดินหายใจเราจะมีตัวโบกพัดเพื่อให้เสมหะค่อยๆ ลอยขึ้นมาข้างบน แล้วจะทำให้เรารู้สึกระคายคอแล้วเราจะไอเอาเสมหะออกมา เวลาที่เราทานกลุ่มยา Dextromethorphan และ Codeine โดยจะไปกดการไอ ไม่ให้ไอออกมา เพราะฉะนั้นเวลาที่เรามีเสมหะ แล้วเราไม่ได้ไอออกมาจึงมีสิทธิ์ที่เสมหะนั้นจะไหลลงปอดได้ ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดปอดอักเสบมีมากขึ้น แล้วนอกจากนี้ยากลุ่มเหล่านี้จะส่งเสริมทำให้พวกเกร็ดเลือดเราสร้างเซโรโทนินสูงขึ้น แล้วเมื่อมีเซโรโทนินสูงจะทำให้อาการหนักขึ้นได้

การสังเกตยาแก้ไอ
โดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้มีการบอกว่าเป็นยากดการไอ แต่จะเขียนว่าเป็นยาแก้ไอ จึงแนะนำให้ไปเลือกใช้ยาแก้ไอที่เป็น ยาแก้ไอละลายเสมหะ เป็นตัวยาที่สามารกินกินได้ หรือซื้อพวก Nac, Nac Long, Fluimucil ซึ่งพวกนี้เป็นยาแก้ไอละลายเสมหะ แนะนำควรกินยากลุ่มเหล่านี้จะดีกว่า แล้วยากลุ่มแก้ไอละลายเสมหะ Nac มีส่วนช่วยซัพพอร์ตตับ ซึ่งในช่วงนี้ที่เรามีการกินยาต้านไวรัส ยาพารา โดยยาเหล่านี้จะทำให้ตับทำงานหนักขึ้นการกิน​ Nac จะช่วยในเรื่องนี้ได้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า เมื่อเราติดเชื้อไวรัสร่างกายเราจะมีสารอักเสบที่มากขึ้น สิ่งสำคัญที่เราควรทำ คือ การลดการอักเสบลง เพื่อจะให้ร่างกายกลับมาสู่สภาวะปกติได้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะใช้ตัวช่วยลดการอักเสบแบบไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปลา เควอซิติน น้ำขิง สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดการอักเสบของร่างกายลงได้ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงหายจากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้นั่นเองนะคะ : )

ติดต่อเรา