กินอย่างไรให้ห่างไกลไมเกรน?!
หลายอาจเคยมีอาการปวดหัวฝั่งเดียว ไม่ว่าจะฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวา โดยอาการปวดหัวแบบนี้เรียกว่า “ไมเกรน” ซึ่งไมเกรนเป็นการปวดหัวที่พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในคนที่ทำงานหรือแม้กระทั่งในวัยเรียนก็ตาม บางคนอาจคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สามารถทนต่อกลิ่น แสงสว่างที่มากเกินไป หรือเสียงดังมากๆ ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจได้รับการกระตุ้นมาจากสิ่งรอบข้างทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการปวดหัวนั้นได้
สิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการปวดหัวนั้นพบได้บ่อยจากอาหารและเครื่องดื่ม โดยจากการสังเกตุผู้ป่วยไมเกรนที่ได้ทานอาหารและเครื่องดื่มเข้าไป สิ่งเหล่านั้นจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะ ถ้าผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าวนั้นได้จะทำให้อาการปวดศีรษะน้อยลง เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มจะออกฤทธิ์ที่บริเวณเส้นเลือดของเยื่อหุ้มสมองส่วนนอกจึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะนั่นเอง
อาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นการปวดไมเกรน
1. ผงชูรส
ผงชูรสเป็นสารปรุงแต่งที่เพิ่มรสชาติให้อาหาร ทำให้รสชาติของอาหารมีความกลมกล่อม อร่อยยิ่งขึ้น เพราะผงชูรสมีคุณสมบัติในฐานะตัวนำสื่อประสาทที่สามารถกระตุ้นต่อมรับรสของลิ้น ทำให้ลิ้นของไวต่อการรับรสของอาหารมากขึ้น และผงชูรสยังกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะที่อาจมาจากการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดหรือไปกระตุ้นให้เซลล์ของผนังหลอดเลือดหลั่งสารไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวจึงนำไปสู่อาการปวดศีรษะ
2. คาเฟอีน
คาเฟอีนมีอยู่ในอาหารหลายชนิดที่ผู้คนนิยมรับประทานกันในชีวิตประจำวัน เช่น กาแฟ ชา โคล่า โซดา เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต เป็นต้น การบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำหรือการได้รับคาเฟอีนเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิด กระสับกระส่าย เกิดความเมื่อยล้า หากต้องการคาเฟอีนก็ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน ส่วนใครที่มีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน
3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เป็นตัวที่พบบ่อยที่กระตุ้นให้เกิดการอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยเฉพาะ “ไวน์แดง” ที่มีส่วนประกอบของสารไทรามีน ซัลไฟท์ ฮีสตามีน และฟลาโวนอยด์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ โดยอาการปวดศีรษะหลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดได้บ่อย รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาเจียน ใจสั่น หงุดหงิด ไม่สดชื่น อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายลดลงและหมดไป
4. สารแอสปาแตม
แอสปาร์แตม (Aspartame) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่ม ถึงแม้จะยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุแน่ชัดว่าเพราะอะไรสารนี้จึงมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน แต่ก็พบว่าในผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดศีรษะหลังรับประทานสารตัวนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงสารดังกล่าวนี้ไปก่อนจะดีกว่า
5. สารไทรามีน
เป็นสารองค์ประกอบธรรมชาติในอาหาร เช่น เนยแข็ง (cheese) เครื่องในสัตว์ ปลาเฮอริ่ง ถั่วลิสง เนยถั่ว ช็อคโกแลต กะหล่ำปลีดอง ไส้กรอก กล้วยสุกงอม เนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธียืดอายุหรือเนื้อสัตว์แปรรูป ของหมักดอง เหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของยีสต์ เบียร์ เป็นต้น สารไทรามีนจะไปลดระดับสารเซโรโทนินในสมอง ทำให้ผู้ที่มีความไวต่อสารไทรามีน เมื่อรับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง
6. ไนเตรตและไนไตรท์
เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) กลุ่มที่ทำหน้าที่เป็น “วัตถุกันเสีย” หรือ “สารกันบูด” ซึ่งปกติแล้ว ไนไตรท์และไนเตรทไม่ได้ใช้บริโภคโดยตรง แต่การเติมไนไตรท์และไนเตรทลงในอาหาร ก็เพื่อการเก็บรักษาอาหาร เช่น ไส้กรอก เนื้อรมควัน ปลารมควัน แฮม เป็นต้น ซึ่งสารนี้เป็นกลไกการกระตุ้นให้ปวดศีรษะอาจทำให้ร่างกายหลั่งสารไนตริกออกไซด์หรือสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัวชนิดอื่นๆ ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวและทำให้ปวดศีรษะได้
อาการปวดไมเกรนจะดีขึ้นเมื่อเราหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพการกินและสุขภาพของร่างกาย เพื่อให้อาการไมเกรนหายไปจากตัวเรา เราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง เช่น หมั่นบันทึกอาการปวดหัวในแต่ละวัน รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ พยายามจัดการความเครียดของตัวเอง อย่าจมอยู่กับความเครียดนั้นนานเกินไป หรือจะออกกำลังกายก็สามารถควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ได้ นอกจากนี้การออกำลังกายก็ยังทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีตามมาได้อีกด้วย
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึงในคลิป สามารถสั่งซื้อได้ทาง inbox และ Line@ของคลีนิคค่า
📌LINE : https://lin.ee/piE9kvf
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help