‘คอร์ติซอล’ ฮอร์โมนความเครียด มีมากก็ไม่ดี ไม่มีก็ไม่ได้! . คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมน…

‘คอร์ติซอล’ ฮอร์โมนความเครียด มีมากก็ไม่ดี ไม่มีก็ไม่ได้!
.
คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต Hypothalamic (HPA) ตั้งอยู่ภายในต่อมใต้สมอง ส่วน Hypothalamus ซึ่งจะส่งสัญญาณไปยังต่อมใต้สมองและปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เรียกว่า Corticotropin (CRH) ออกมา และเมื่อเซลล์ในร่างกายทำปฏิกิริยากับฮอร์โมนคอร์ติซอลจะส่งผลให้ร่างกายมีอาการดังนี้
.
➡️ มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น
➡️ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้น
➡️หายใจเร็วขึ้นเพื่อเผาผลาญพลังงาน และย่อยอาหาร
➡️ประสาทสัมผัสตื่นตัวและตอบสนองรวดเร็ว
➡️อารมณ์รุนแรงและเป็นไปในทางหวาดกลัว หรือไม่ก็ก้าวร้าว
➡️ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มทำงานเพื่อเตรียมตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการหนีหรือการต่อสู้
.
✳️ฮอร์โมนคอร์ติซอลมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาที่เผชิญกับอันตราย การต้องต่อสู้ หรือหนีจากมหันตภัย จะทำให้ร่างกายมีความตื่นตัวและประสาทสัมผัสที่เฉียบคม พลังงานในร่างกายที่พุ่งสูงจะทำให้เราเคลื่อนไหวได้เร็วและแข็งแรงขึ้น
.
‼️แต่…สถานการณ์ฉุกเฉินไม่ได้เกิดขึ้นกับชีวิตของเราตลอดเวลา ในคนที่มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงมักอยู่ในภาวะเครียดหรือตื่นตัว (ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ไขตลอดเวลา) แต่เมื่อร่างกายเคยชินกับการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในปริมาณสูงจะทำให้มีปัญหาดังนี้
.
➡️ มีความแปรปรวนทางอารมณ์ หงุดหงิด ก้าวร้าว หรือ วิตกกังวลสูงเกินไป
➡️ มีความเครียดอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่
➡️ มีอาการนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ มีปัญหาในการนอนหลับ
.
ระดับคอร์ติซอลสูงจะส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไร?
🔺 รบกวนระบบเผาผลาญพลังงาน ทำให้มีผลต่อการขึ้นหรือลงของน้ำหนักตัวที่ผิดปกติ
🔺 การอักเสบตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การเป็นแผลแล้วหายยาก การเป็นสิว
🔺 ความสามารถในการจดจำลดลง
🔺 มีความวิตกกังวลมากขึ้น และอาจเกิดภาวะซึมเศร้า
🔺 มีอาการปวดหัว และเป็นไมเกรน
🔺 ความดันสูง และเป็นโรคหัวใจ
🔺 มีปัญหาในการนอนหลับ หลับไม่สนิท
.
ลดระดับคอร์ติซอลของคุณได้อย่างไร?
🔹ปรับเปลี่ยนโภชนาการ ลดอาหารที่ส่งผลต่อการผลิตคอติซอลเช่น น้ำตาลทรายขาว เกลือ และไขมัน
🔹 ใช้น้ำมันปลาและอาหารเสริมเพื่อบำรุงสมอง
🔹 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หนักหรือเบาจนเกินไป
🔹 สังเกตความคิดของตัวเองสม่ำเสมอ และจดบันทึกว่าอะไรคือสาเหตุให้คุณรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล
🔹 ฝึกสติและการทำสมาธิ
🔹ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยง
🔹การเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด
🔹การรับยาที่ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายให้คงที่
.
จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนคอร์ติชอลให้ทั้งประโยชน์และโทษ การคุมความเครียดให้ดี ก็เป็นการคุมไม่ให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลผลิตออกมามากเกินไปจนอาจไปทำร้ายสุขภาพของเราได้ การทำจิตใจให้ดี ลดเครียดลงจึงสำคัญต่อสุขภาพของเรามากนะคะ

ติดต่อเรา