ดื่มน้ำน้อย ส่งผลร้ายต่อร่างกายอย่างไร?
.
เรามักได้ยินกันว่าให้ดื่มน้ำในปริมาณ 8-9 แก้วต่อวันเพื่อสุขภาพที่ดีใช่ไหมคะ นั่นเป็นเพราะว่า หากร่างกายของเราขาดน้ำ ก็อาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพอย่างมาก ถึงขั้นทำให้สมองเสื่อมหรือสูญเสียการมองเห็นได้เลยทีเดียว!
.
เพราะว่า “การดื่มน้ำน้อย” ส่งผลกระทบกับ “การไหลเวียนเลือด” โดยตรง หากร่างกายได้รับน้ำที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะส่งผลให้เลือดข้นหนืด และทำให้น้ำเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายได้ไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ดังเช่น
.
🧠สมอง: หากได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ อาจทำให้เกิดอาการความจำเสื่อมถอย
.
👀ตา: ทำให้เลือดคั่งที่ตา สูญเสียการมองเห็น
.
🫀หัวใจ: ลิ่มเลือดอุดตัน
.
📌ไต: ขับสารพิษได้น้อยลง กรดยูริก แคลเซียม ตกค้างเกิดเป็นนิ่ว
.
👤ระบบขับถ่าย: ท้องผูก ลำไส้บีบตัวน้อยลง
.
เมื่ออวัยวะต่างๆ ทำงานได้ไม่เต็มที่จากภาวะขาดน้ำ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ดังเช่น
.
❗ริดสีดวงทวาร
เมื่อระบบขับถ่ายมีปัญหา ก็อาจจะลามไปจนถึงเป็นริดสีดวงได้ค่ะ เพราะว่าของเสียที่จะถูกขับถ่ายนั้นแข็งและแห้งเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดริดสีดวงทวาร
.
❗ปวดข้อและหมอนรองกระดูก
เพราะระหว่างข้อต่อและหมอนรองกระดูกมีน้ำอยู่ถึง 80% เมื่อร่างกายได้รับน้ำน้อย ก็ทำให้ข้อต่อและหมอนรองกระดูกแห้ง ส่งผลให้เกิดการปวดหรือบาดเจ็บตามข้อต่อได้
.
❗กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เมื่อน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ปัสสาวะจะมีสีเข้ม และอาจมีกลิ่นฉุน และจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
.
❗นิ่วในถุงน้ำดี
เมื่อน้ำไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้มีสารก่อนิ่วที่ตกตะกอนมากกว่าปกติ จึงอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคนิ่วในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดีได้
.
❗ประจำเดือนมาไม่ปกติ
สำหรับสตรีหากดื่มน้ำน้อย ก็อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอและเป็นลิ่มเลือดได้ค่ะ รวมถึงอาจทำให้ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้น
.
ตอนนี้หลายคนคงรู้แล้วว่า การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันนั้นสำคัญเพียงใด ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคือวันละประมาณ 8 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตร หรือจะลองใช้สูตรคำนวณ น้ำหนัก (กิโลกรัม) คูณด้วย 2.2 คูณด้วย 30 หารด้วย 2 ก็จะได้ปริมาณน้ำเป็นมิลลิลิตรที่เราควรดื่มใน 1 วัน หรือวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าดื่มน้ำเพียงพอแล้วหรือยัง ก็คือปัสสาวะจะมีสีเหลืองใสนั่นเองค่ะ
.
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับปริมาณน้ำดื่มที่ควรดื่มในแต่ละวัน เพราะในบางโรค เช่น โรคไต อาจมีการจำกัดปริมาณน้ำที่ควรดื่มเอาไว้ด้วยนะคะ