ถ้าอยากผอม…ควรรู้จักฮอร์โมนเหล่านี้ . ฮอร์โมนส์ (Hormones) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช…

ถ้าอยากผอม…ควรรู้จักฮอร์โมนเหล่านี้
.
ฮอร์โมนส์ (Hormones) เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายลดน้ำหนักหรือเพิ่มน้ำหนัก บางคนออกกำลังแทบตายแต่เพราะความผิดปกติของฮอร์โมนทำให้น้ำหนักไม่ลดสักที ถ้าอยากลดน้ำหนักให้ได้สำเร็จ อีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยคือการดูแลฮอร์โมนในร่างกายให้ดี บางชนิดควรมีให้มาก บางชนิดควรมีให้น้อยและบางชนิดต้องรักษาระดับให้สมดุล เรามาดูกันว่าฮอร์โมนตัวไหนบ้างที่คนลดน้ำหนักควรใส่ใจ
.
ไทรอยด์ ฮอร์โมนส์ (Thyroid Hormones)
ไทรอยด์ฮอร์โมนส์ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์แทบทุกส่วนในร่างกาย ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารที่รับเข้ามา ช่วยให้เซลล์ไขมันไวต่ออะดรีนาลีน ว่าง่ายๆ คือช่วยสนับสนุนการสลายไขมันของอะดรีนาลีน เราจึงต้องรักษาสมดุลของไทรอยด์ในร่างกายให้ดี ด้วยการดูแลสุขภาพ ทานอาหารครบหมู่ ทานวิตามิน A B1 B2 B6 และ B12 รวมทั้งเบต้าแครอทีน ไอโอดีน ซีรีเนี่ยมและสังกะสี ไทรอยด์ฮอร์โมนส์ถือว่ามีความสำคัญกับร่างกายอย่างมาก ไม่ใช่แค่กับคนลดน้ำหนัก เพราะมันดูแลทุกส่วนของร่างกาย หากเราไม่ดูแลให้ดี อาจเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษและอาการอื่นๆ ที่อาจอันตรายถึงชีวิตตามมาได้
.
อินซูลิน (Insulin)
ฮอร์โมนมีหน้าที่ควบคุมปากเซลล์ให้เปิดรับน้ำตาลและปิดเมื่อเซลล์อิ่ม ทุกครั้งที่กิน อินซูลินจะถูกหลั่งออกมา แต่การที่มีอินซูลินมากอย่างต่อเนื่องด้วยการกินจุกจิกไม่หยุด ทำให้อวัยวะต่างๆ ชินชาต่ออินซูลิน หรือก็คือเซลล์ต่างๆ ต้องการอินซูลินหรือน้ำตาลมากขึ้น ในขณะที่กินน้ำตาลในปริมาณเท่าเดิม ผลคือ คุณจะอยากกินน้ำตาลเกินจำเป็น เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน ส่วนน้ำตาลส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกเก็บในรูปของไขมัน เจ้าตัวอินซูลินนี้เราต้องมีให้น้อย ด้วยการกินตามเวลา อาจจะลองทำ IF ที่มีผลกับอินซูลินโดยตรง และงดอาหารที่มีน้ำตาลสูง
.
โกรทฮอร์โมนส์ (Growth Hormones)
หน้าที่หลักๆ ของโกรทฮอร์โมนส์จะเกี่ยวกับการเติบโตของกล้ามเนื้อ กระดูกและอวัยวะภายในมันจะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันในร่างกาย สามารถกระตุ้นโกรทฮอร์โมนส์ได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกเกินไป ทานโปรตีน กรดอะมิโน งดน้ำตาล และมีวินัยในการออกกำลังสม่ำเสมอ นอกจากนี้การทำ IF ก็ช่วยกระตุ้นการเพิ่มโกรทฮอร์โมนได้ดี เนื่องจาก IF จะช่วยยับยั่งอินซูลินซึ่งเป็นศัตรูกับโกรทฮอร์โมนส์ไว้นั่นเอง
.
คอร์ติซอล (Cortisol)
ฮอร์โมนแห่งความเครียด เพราะหากเราเครียดมากขึ้น คอร์ติซอลที่ถูกหลั่งออกมาเพื่อสู้กับความเครียด จะมาพร้อมกับอินซูลินเพื่อนรัก เพื่อทำให้คุณรู้สึกหิวและอยากอาหารมากขึ้น เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น อยากอาหารมากขึ้น ผลคือ ไขมันสะสมจากพลังงานที่ได้รับมากเกินไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมามากเกินไป ก็จะสร้างปัญหาให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบที่เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก ดังนั้นเราต้องปรับอารมณ์ให้ดี มีการนอนหลับที่เต็มอิ่ม พักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยปรับระดับคอติซอลได้
.
เลปติน (Leptin)
ฮอร์โมนแห่งความอิ่ม ฮอร์โมนตัวนี้มีหน้าที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม เมื่อเลปตินถูกหลั่งออกมา มันจะส่งสัญญาณไปที่สมอง สั่งการให้คุณหยุดเติมอาหารเข้าท้อง นอกจากนี้มันยังช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ เลปตินเป็นฮอโมนส์ที่สร้างจากเซลล์ไขมัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเลย ถ้าคุณกำลังจะลดน้ำหนักโดยการงดกินไขมัน การรักษาสมดุลเลปตินทำได้ด้วยการนอนหลับให้เพียงพอ ทานไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผัก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทานขมิ้นที่มีคุณสมบัติในการต้านภาวะดื้อเลปติน
.
เทสโทนเทอโรน (Testosterone)
เทสโทนเทอโรนไม่ได้มีแค่ในเพศชาย เพียงแต่มีอยู่ในสัดส่วนที่ต่างกันกับเพศหญิง เป็นสาเหตุว่าทำไมร่างกายของผู้ชายถึงได้เผาผลาญได้ดีกว่าผู้หญิง เทสโทสเทอโรนมีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายและควบคุมการแสดงออกทางเพศ จะช่วยหยุดการเพิ่มขึ้นของเซลล์ไขมันและกระตุ้นการพัฒนามวลกล้ามเนื้ออีกด้วย ปริมาณของเทสโทนเทอโรนในร่างกายจะลดลงตามอายุ แต่การออกกำลังที่มีแรงต้าน จะช่วยคงปริมาณของมันไว้ได้
.
อะดรีนาลีน (Adrenaline)
ฮอร์โมนนี้จะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายเกิดภาวะตื่นตกใจ หรือความเครียดแบบเฉียบพลัน มันช่วยสลายไขมันและเพิ่มการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากไขมัน การกระตุ้นอะดรีนาลีนทำได้ด้วยการออกกำลังกายแบบคาดิโอในระดับเบาถึงปานกลาง
.
รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมดูแลฮอร์โมนในร่างกายให้ดี เพราะฮอร์โมนเหล่านี้เป็นแรงงานสำคัญที่จะช่วยดูแลระบบในร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ และยังเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยให้คุณน้ำหนักลดอีกด้วย
.
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึงในคลิป สามารถสั่งซื้อได้ทาง inbox และ Line@ของคลีนิคค่า
📌LINE : https://lin.ee/piE9kvf
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา