ภาวะลำไส้รั่ว เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในหมู่คนรักสุขภาพ เนื่องจ…

ภาวะลำไส้รั่ว เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในหมู่คนรักสุขภาพ เนื่องจากทางการแพทย์ค้นพบว่ามันเป็นภัยเงียบอันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้ วันนี้เราเลยอยากพาคุณไปทำความรู้จักเจ้า Leaky Gut Syndrome และวิธีป้องกันกันสักหน่อยค่ะ
.
❇️ ปกติแล้ว เซลล์เยื่อบุในลำไส้ของคนเราจะเรียงตัวกันเป็นระเบียบและแข็งแรง เพื่อลำเลียงและดูดซึมสารอาหารที่ส่งต่อมาจากกระเพาะ ปล่อยให้อาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์และของอันตรายอย่างสารพิษผ่านไป แต่เยื่อบุลำไส้ของคนที่มีอาการลำไส้รั่วจะไม่เรียงตัวอย่างที่ควรจะเป็น อักเสบเสียหายและมีรูอยู่ระหว่างเซลล์ผนังลำไส้ เป็นเหตุให้ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี แถมอาหารที่ยังย่อยไม่เสร็จและสารพิษต่างๆ ก็เล็ดลอดเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายค่ะ
.
➡️ ผลที่ตามมาคือร่างกายจะได้รับสารอาหารได้น้อยลง จนบางคนเริ่มขาดสารอาหาร ร่างกายยังเกิดการอักเสบมากขึ้น เพราะได้รับสารพิษและสารก่อความอักเสบสะสม นานเข้าก็จะเกิดความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ของร่างกายตามมา หรืออาจเกิดโรคได้เลยค่ะ

‼️ ลำไส้รั่วอาจเป็นต้นเหตุของอาการต่อไปนี้ได้ค่ะ
🔺 ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก อาหารไม่ย่อย
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
🔺 ระบบเผาผลาญเสียหาย น้ำหนักขึ้นได้ง่าย เสี่ยงโรคเบาหวานและโรคอ้วน
🔺 สิวอักเสบเรื้อรัง
🔺 อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดตามตัวและข้อ
🔺 ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง หรือโรคเซลิแอค
🔺 อาการแพ้อาหาร
🔺 ภาวะขาดสารอาหาร
.
แล้วต้นเหตุของลำไส้รั่วคืออะไร❓
ผู้เชี่ยวชาญพบว่า อาหารที่เราทานคือปัจจัยหลักที่ทำให้ลำไส้เราอ่อนแอลงและเสี่ยงจะเกิดลำไส้รั่วได้ง่ายขึ้น มีอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
.
1. แป้งและน้ำตาลขัดสี เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด เบเกอรี่ เครื่องดื่มผสมน้ำเชื่อม น้ำตาลกลุ่มฟรุกโตส
2. คาร์โบไฮเดรตกลูเตนสูง
3. ใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นประจำ เช่น ไอบูโพรเฟน
4. ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
5. ภาวะขาดวิตามิน A, D และธาตุสังกะสี
6. ความเครียดสะสมเรื้อรัง
7. ทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ไม่พอ
.
📢 เนื่องจากภาวะลำไส้รั่วอาจเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง และการเข้าถึงการตรวจหาโรคนี้ยังทำได้ยาก คุณหมอจึงต้องสังเกตจากอาการต่างๆ แทน อย่างไรก็ตามคุณหมอมีคำแนะนำในการป้องกันทั้งโรคลำไส้รั่วและบำรุงสุขภาพทางเดินอาหารส่วนอื่นๆ ได้ด้วยดังนี้ค่ะ
◾ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
◾หันมาทางอาหารปลอดกลูเตน เช่น มันฝรั่ง ข้าวกล้อง ขนมปังปลอดกลูเตน
◾ทานอาหารไฟเบอร์สูง เพื่อบำรุงแบคทีเรียดีในลำไส้ เช่น แอปเปิ้ล บรอกโคลี ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว ป๊อปคอร์น
◾จำกัดปริมาณน้ำตาลต่อวันให้เหลือเพียง 24 กรัม
◾เพิ่มแบคทีเรียที่มีประโยชน์ด้วยการทานอาหารหมักดองให้มากขึ้น เช่น โยเกิร์ต เทมเป (ถั่วเหลืองหมัก) กิมจิ คอมบูชะ (ชาหมัก) ผักดอง
◾ทานยาแก้อักเสบตามแพทย์สั่งเท่านั้น
.
นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมเราทุกคนจึงควรใส่ใจในอาหารที่ทานค่ะ ถ้าคุณมีอาการบางข้อที่เข้าข่ายเกี่ยวข้องกับภาวะลำไส้รั่วล่ะก็ อาจถึงเวลาลองปรับพฤติกรรมการกินของคุณแล้วล่ะค่ะ หรือหากลำไส้คุณยังแข็งแรงดี ป้องกันไว้ก่อนก็ดีกว่าแก้นะคะ

ติดต่อเรา