วางแผนอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ใช่อาหารที่มีคว…

วางแผนอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ใช่อาหารที่มีความพิเศษแตกต่างจากอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวัน เพียงแต่ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกชนิดอาหารที่มีคุณภาพ และควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานให้เหมาะสมมากขึ้นสักหน่อย เพื่อที่จะไม่ให้ได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากจนเกินไป การเลือกอาหารที่ต้องทานในแต่ละมื้อจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับดี ๆ ในการวางแผนอาหารแต่ละมื้อมาฝากทุกคนกันค่ะ

1. วางแผนเมนู
การวางแผนเมนูประจำสัปดาห์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด การเลือกอาหารที่มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โปรตีน และไฟเบอร์ในมื้ออาหาร สามารถชะลอการดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือด เพื่อให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นมีประสิทธิภาพ
การวางแผนมื้ออาหารนั้นมีหลายวิธี บางคนเลือกใช้การนับคาร์โบไฮเดรต ถึงแม้ว่าการนับคาร์โบไฮเดรตจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการทางโภชนาการและยาที่แต่ละคนได้รับ แต่โดยมากแล้วแนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรต 45–60 กรัม/มื้อ แต่ในมื้ออาหารว่างแนะนำให้ทานประมาณ 15-30 กรัม
วิธีการจัดจานก็เป็นอีกกลยุทธ์ง่าย ๆ ในการวางแผนเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน จัดให้ครึ่งหนึ่งของจานอาหารควรประกอบด้วยผักที่ไม่มีแป้ง เช่น ผักใบเขียว บร็อกโคลี กะหล่ำดอก และแครอท ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งควรประกอบด้วยอาหารที่มีโปรตีนและธัญพืชไม่ขัดสีเท่ากัน
2. กินไฟเบอร์มากขึ้น
ไฟเบอร์จะช่วยให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง ทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ลองเติมผักที่อุดมด้วยไฟเบอร์อย่างน้อยครึ่งหนึ่งในจาน และเลือกรับประทานธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่วมีใยอาหารสูง แต่ต้องรับประทานได้ในปริมาณที่พอเหมาะ
3. เลือกแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง
โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการการเจริญเติบโตของมนุษย์ การเลือกแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงการทำงานของภูมิคุ้มกัน การซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และการสร้างกล้ามเนื้อ
4. รวมไขมันที่ดีต่อสุขภาพไว้ในอาหาร
แม้ว่าไขมันจะขึ้นชื่อว่าเป็นสารอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและหลอดเลือดอุดตัน แต่จริง ๆ แล้วเป็นส่วนสำคัญของอาหารที่ดีต่อหัวใจ การเพิ่มปริมาณไขมันที่ดี เช่น น้ำมันมะพร้าว อะโวคาโด และน้ำมันมะกอกในมื้ออาหาร สามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ มีการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันไม่อิ่มตัวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอินซูลินได้ดี
5. ออกกำลังกาย
นอกจากการปรับเปลี่ยนอาหารในแต่ละมื้อแล้ว คุณอาจต้องเริ่มเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของคุณอีกด้วย การออกกำลังกายเป็นประจำในแต่ละวันเป็นประโยชน์อย่างมากในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการเล่นเวท ได้รับการยืนยันแล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอินซูลินเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
6. เพิ่มอาหารเสริม
อาหารเสริมหลายชนิดได้รับการยอมรับแล้วว่ามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจับคู่กับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี เช่น
วิตามิน B100 ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ดี
วิตามิน D3 ช่วยให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ดีขึ้นและช่วยลดน้ำตาลให้ดีขึ้นได้
วิตามิน K2 ช่วยป้องกันแคลเซียมไปเกาะหลอดเลือด
Fish Oil คนที่เป็นเบาหวานเมื่อมีระดับน้ำตาลสูงจะทำให้หลอดเลือดมีการอักเสบ Fish Oil จะไปช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดนั้น

ปัจจุบันมีสูตรอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมากมายตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีส่วนผสมของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการวางแผนมากขึ้น เราสามารถนำมาปรับให้เข้ากับร่างกายของตัวเองได้เลย และนอกจากการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ ไขมันดี และอาหารโปรตีนในปริมาณมากแล้ว คุณควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควรเสริมด้วยอาหารเสริมที่สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยนะคะ
.
——————————
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึง สามารถสั่งซื้อได้ทาง Inbox หน้าเพจ
หรือ Line@ของคลีนิคค่า
✅LINE : https://lin.ee/piE9kvf
พิเศษ สั่งซื้อสินค้าจาก Line my shop รับคูปองส่วนลดพิเศษ
สั่งซื้อเลย : https://lin.ee/xugEfmj
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา