ว่าด้วยเรื่องของความฝัน เชื่อว่าหลายคนต้องเคยฝันแน่ๆ ไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้ายก็…

ว่าด้วยเรื่องของความฝัน
เชื่อว่าหลายคนต้องเคยฝันแน่ๆ ไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้ายก็ต้องเคยฝันกันบ้าง ในแต่ละคืนคนเราจะฝันเฉลี่ย 4-6 ครั้ง โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะจำความฝันได้ก็ต่อเมื่อเราตื่นช่วงที่กำลังฝันอยู่ แต่อย่างไรก็ตามสุดท้ายแล้วเราก็จะลืมเรื่องที่ฝันไปตอนตื่นถึง 95%
.
เราฝันกันไปทำไม?
เมื่อพูดถึงความฝันหากย้อนดูตามประวัติศาสตร์ เรารู้จักกับความฝันมาตั้งแต่สามพันปีก่อนคริสตกาลในสมัยเมโสโปเตเมีย โดยในสมัยนั้นได้มีการบันทึกและแปลความหมายความฝันลงบนแผ่นไม้ และหลายร้อยปีต่อมาในสมัยอียิปต์โบราณก็ได้มีการเขียนบันทึกความฝันลงหนังสืออีกด้วย
ซึ่งถึงแม้มนุษย์เราจะรู้จักกับความฝันจะมาอย่างเนิ่นนาน แต่แท้จริงแล้วจนถึงปัจจุบันนี้ก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าทำไมเราถึงฝัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังมีทฤษฎีอยู่ 5 ข้อที่อธิบายไว้ถึงสาเหตุที่เราฝันดังนี้
.
#1ฝันเพื่อเติมเต็มความปรารถนา ทฤษฏีนี้เป็นของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เขาเชื่อว่า ความฝันต่างๆที่เราฝันนั้นมักเกิดมาจากจิตใต้สำนึกของเรา โดยหากเราฝันถึงสิ่งใด แล้วจำได้ในตอนตื่น ความฝันนั้นอาจเป็นสิ่งที่เรากำลังโหยหาและต้องการอยู่
.
#2ฝันเพื่อช่วยจัดการระบบความคิด มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าตอนที่เราฝันสมองจะจัดระบบความคิดได้ดีขึ้น โดยงานวิจัยนี้ได้ทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างหาทางออกในเขาวงกต ซึ่งจากการทดลองพบว่า คนที่งีบหลับและฝันถึงเขาวงกต มีแนวโน้มจะหาทางออกจากเขาวงกตได้ดีกว่า ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าตอนที่หลับจะเกิดกระบวนการสร้างความทรงจำบางอย่างทำให้เราจัดระบบความคิดได้ดีขึ้น
.
#3ฝันเพื่อลืม ทฤษฎีเกี่ยวกับความฝันเชิงประสาทวิทยาให้ความเห็นว่า ในขณะที่เราฝัน สมองจะทำการทบทวนสิ่งที่เราคิด หรือทำในแต่ละวัน และขณะเดียวกันก็จะลบความจำบางส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย เพราะหากเราไม่ลบหรือลืมบางอย่าง สมองก็จะเต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย ซึ่งอาจไปรบกวนความคิดที่จำเป็นและสำคัญได้
.
#4ฝันเพื่อฝึกซ้อม บางครั้งเราก็อาจฝันถึงเหตุการณ์ร้ายๆ และอันตรายซึ่งสิ่งนี้ อาจสร้างมาเพื่อให้เราฝึกสัญชาตญาณการเอาตัวรอด เผื่อวันใดเกิดเหตุไม่คาดฝัน การต่อสู้ในฝัน อาจช่วยเราให้รอดจากภันอันตรายนั้นได้เวลาเจอสถานการณ์จริง
.
#5ฝันเพื่อรักษา มีการพบว่าช่วงที่นอนและฝันนั้น สารสื่อประสาทความเครียดจะทำงานน้อยลง แม้แต่ในช่วงที่ฝันถึงเหตุการณ์ที่เจ็บปวดสารสื่อประสาทความเครียดก็ไม่เพิ่มขึ้น นักวิจัยบางคนเลยคิดว่า ช่วงที่เราฝันนั้นเราอาจจะได้รับการรักษาแผลทางจิตใจได้ เพราะการที่เรานึกถึงเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในฝันโดยที่ความเครียดทางจิตใจน้อยลงนั้น อาจทำให้เราเปลี่ยนมุมมองและปรับตัวต่อเหตุการณ์นั้นได้ดีขึ้น
.
จะเห็นได้ว่าสาเหตุของความฝันส่วนใหญ่แล้วก็มักมีประโยชน์ต่อเรา แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ทฤษฎีความฝันแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ก็คงกำลังศึกษาเรื่องความฝันกันอยู่ ซึ่งในอนาคตเราอาจจะได้คำตอบที่ชัดเจนมากกว่านี้
.
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึง สามารถสั่งซื้อได้ทาง
✅LINE : https://shop.line.me/@bluphama
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา