หลอดเลือดหัวใจตีบตันแบบไม่รู้ตัว อันตรายถึงชีวิต ป้องกันอย่างไรดี?
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คือ อยู่กลุ่มโรคหัวใจที่เร่งด่วน ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอก คือ หลอดเลือดมันตันจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจก็เลยตายแบบเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอยู่ 5 กลุ่ม คือ
❗คนที่สูบบุหรี่
❗คนที่เป็นความดันโลหิตสูง
❗คนที่เป็นเบาหวาน
❗คนที่มีคอเลสเตอรอลสูง
❗คนที่มีหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งจะทราบจากการตรวจร่างกายประจำปี จะมีค่าที่เรียกว่า CRP กับ Homocysteine ในคนที่มีค่า CRP (C-Reactive Protein) กับค่า Homocysteine สูง คือ เป็นกลุ่มคนที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
.
ภาวะเจ็บหน้าอกที่อันตราย
ภาวะเจ็บหน้าอกแบบไหนที่อันตราย? แล้วต้องรีบไปโรงพยาบาล การเจ็บหน้าอกแบ่งออกเป็น 2 แบบกว้างๆ คือ
1️⃣แบบอันตราย เรียกว่า Unstable Angina เป็นตัวที่บ่งบอกถึงว่า หัวกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งถ้าเกิดอาการแบบนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วนหรือเป็นภาวะฉุกเฉิน ลักษณะอาการ คือ เจ็บขณะพัก โดยที่คุณไม่ต้องออกแรงใดๆ เลย ในบางคนมีอาการขณะนอน นอนหลับไปแล้วก็เจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งควรระวังเป็นอย่างมาก สิ่งสำคัญ คือ หากเจ็บขณะพัก โดยที่เรายังนอนพักอยู่แบบนั้นนั้น ถ้าในเวลา 20 นาที แล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน บ่งบอกว่า มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
2️⃣แบบเกิดขึ้นเวลาออกแรง ลักษณะอาการ คือ ออกแรงแล้วเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งแบบนี้ยังไม่รุนแรงเท่าแบบแรก แต่ในแบบที่ 2 สมมุติว่าเกิดขึ้นขณะเราออกแรง สิ่งสำคัญคือ ถ้าในเวลา 20 นาทีแล้วไม่หาย มีการเจ็บแน่นหน้าอก ลักษณะ คือ มันจะเจ็บแน่นเหมือนมีอะไรมาเหยียบ มาบีบ ในบางคนมีอาการร้าวไปที่หลัง บางคนมีร้าวไปที่ไหล่ แล้วถ้าภายใน 20 นาทีอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
.
5 สิ่งที่คุณจะต้องทำถ้าคุณมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่บ่งบอกถึงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
1️⃣หากเริ่มเจ็บแน่นหน้าอก คุณต้องจับเวลาเลยว่า เจ็บกี่นาที ถ้า 20 นาทีแล้ว ไม่หายคุณต้องไปโรงพยาบาลโดยด่วน
2️⃣ในช่วงที่เจ็บหน้าอก สิ่งที่สำคัญ คือ คุณต้องเลือกไปโรงพยาบาลที่สามารถสวนหัวใจแบบฉีดสีได้ ในคนที่มีความเสี่ยงแล้วอยู่ต่างจังหวัด อยู่ในอำเภอที่ห่างไกลโรงพยาบาล ควรเช็คไว้ก่อนเลยว่า โรงพยาบาลไหนที่ใกล้ที่สุด ที่สามารถสวนหัวใจแบบฉีดสีได้ เพราะว่าคุณต้องไปโรงพยาบาลเหล่านั้น
3️⃣ยาที่ควรจะมีติดไว้ คือ แอสไพลิน (Aspirin) ปกติคนที่เป็นโรคหัวใจทุกวันนี้จะทานยาเบบี้แอสไพริน (Baby Aspirin) อยู่แล้ว โดยแนะนำให้ทานยาแอสไพลิน 325 mg ให้เคี้ยวและกลืน ถ้าเป็น Baby Aspirin ซึ่ง 1 เม็ดมี 81 mg ควรทานไปเลย 4-6 เม็ด โดยควรเคี้ยวก่อนค่อยกลืน ซึ่งการเคี้ยวก่อนจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้นเพราะว่าภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉิน จริงๆ แล้วสาเหตุที่เกิดภาวะเฉียบพลัน พบว่า เกิดจากตัว Plaque หรือสิ่งที่อุดตันหลอดเลือดมันแตก พอมันแตกเกิดการฉีกขาดมันจะมีเลือดออก พอเลือดออกตัวเกร็ดเลือดของเราเลยพยายามไปอุดรูเพื่อห้ามเลือด พอเวลาเกร็ดเลือดไปอุดจำนวนมากมันเลยตันขึ้นมา มันจึงเกิดภาวะแบบนี้ขึ้น ซึ่งยาแอสไพรินเป็นตัวยับยั้งเกร็ดเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือด เพราะฉะนั้นยาที่สำคัญที่สุดในภาวะนี้คือ ยาแอสไพริน
4️⃣ไม่ควรใช้ยาอมใต้ลิ้น ในหลายคนใช้ยาอมใต้ลิ้นหรือตัวยาขยายหลอดเลือด โดยไม่แนะนำให้ทานในช่วง 20 นาทีแรกที่มีอาการ เพราะพบว่า การทานยาอมใต้ลิ้นหรือยาขยายหลอดเลือดจะไปบดบังอาการทำให้เราไม่รู้ว่าเราเป็นภาวะนี้แล้ว เพราะฉะนั้น 20 นาทีแรกไม่แนะนำให้ทาน ซึ่งงานวิจัย พบว่า ยาอมใต้ลิ้นหรือยาขยายหลอดเลือดในภาวะแบบนี้ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตลงได้ ซึ่งตัวที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ดี คือ ยาแอสไพริน นั่นเอง
5️⃣อย่าตื่นตระหนกตกใจ หากคุมสติได้เมื่อไหร่ ให้ผ่อนคลายร่างกาย หายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลายอยู่กับลมหายใจนั้น
.
ปัจจัยหลักที่จะเกิดเรื่องของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน
มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ 1.) ไขมันที่มาพอก มาอุดตันหลอดเลือด 2.) หลอดเลือดหดตัว นี่คือ 2 ปัจจัยหลักที่จะทำให้ภาวะนี้แย่ลง
.
การเกิดไขมันอุดตันหลอดเลือด
ในอันดับแรกมันเริ่มจากตัวหลอดเลือดอักเสบก่อน เวลาที่เราตรวจเลือดประจำปี แนะนำให้ตรวจ 2 ตัวนี้คือค่า CRP (C-Reactive Protein) ค่าที่ดี คือ ค่าที่ต่ำกว่า 1 อีกตัวคือค่า ต่อมาคือค่า Homocysteine ค่าที่ดี คือ ค่าที่ต่ำกว่า 10 ถ้าค่าเกิน 10 ขึ้นไป จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะฉะนั้นให้คุมค่า 2 ตัวนี้ให้ดี
โดยการเกิดไขมันอุดตันหลอดเลือดมันจะเริ่มจากหลอดเลือดอักเสบเยอะก่อน ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบ คือ น้ำตาลกับน้ำมัน แล้วการป้องกันหากไม่อยากให้หลอดเลือดอักเสบ คือ
1.) ลดน้ำตาล เพราะน้ำตาลเป็นพิษต่อหลอดเลือดโดยตรง น้ำตาลเลยยิ่งทำให้หลอดเลือดอักเสบ พอหลอดเลือดอักเสบจะยิ่งเรียกคอเลสเตอรอลให้มาเพาะมาพอก
2.) ลดน้ำมัน น้ำมันที่ไม่ควรใช้เลย คือ น้ำมันที่มีโอเมก้า 6 สูง นั่นคือ น้ำมันถั่วเหลือง เพราะโอเมก้า 6 ทำให้หลอดเลือดอักเสบ
3.) เนื้อสัตว์ติดมัน ในไขมันสัตว์จะมีโอเมก้า 6 สูง ซึ่งการลดไขมันมีผลสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
สิ่งที่จะป้องกันหลอดเลือดอักเสบ คือ Fish Oil โดย EPA จาก Fish Oil จะช่วยป้องกันเรื่องของการอักเสบของหลอดเลือดได้ดี
.
ปกติคอเลสเตอรอลที่เรากลัว คือ LDL หรือไขมันเลว โดย LDL ที่เก่งในการเกาะหลอดเลือด เรียกว่า Oxidized LDL โดยเป็น LDL ที่ถูกทำให้เป็นอนุมูลอิสระ ซึ่ง Oxidized LDL เป็นตัวที่เกาะที่พอกหลอดเลือดเก่งที่สุด เกาะเก่งมากขึ้น
สิ่งที่จะป้องกัน Oxidized LDL ที่ดีที่สุด คือ CoQ10 เมื่ออายุเกิน 40 ปีขึ้นไปควรทาน CoQ10 เพราะอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป พบว่า การสร้าง CoQ10 จะลดลงอย่างมาก มีโอกาสที่ LDL จะกลายเป็น Oxidized LDL ได้ แล้วคนอีกกลุ่มที่ควรกิน CoQ10 คือ คนที่กินยาลดคอเลสเตอรอล กลุ่มที่ใช้กันเยอะที่สุดในการลดคอเลสเตอรอล คือ ยากลุ่ม Statins ซึ่งยากลุ่มนี้จะไปยับยั้งการสร้าง CoQ10 ของร่างกาย กลุ่มคนเหล่านี้ควรทาน CoQ10
.
หลอดเลือดหดตัว
แคลเซียมก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง พบว่า คนที่ทานแคลเซียมเสริมมีโอกาสเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ทานแคลเซียมเสริม ซึ่งการทานแคลเซียมจะทำให้แคลเซียมไปเกาะไปพอกตรงที่มันมีคอเลสเตอรอลเกาะ ทำให้หลอดเลือดยิ่งเสื่อมมากขึ้น
คนที่มีความเสี่ยงเรื่องของแคลเซียมสูง มีอยู่ 2 กลุ่ม
1.) คนที่กินยาวาฟารีน (Warfarin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด มันจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนวิตามิน K1 เป็นวิตามิน K2 ซึ่งวิตามิน K2 เป็นวิตามินที่ลดแคลเซียมในเลือด เพราะฉะนั้นหากคุณกินยา Warfarin แคลเซียมจะท่วมหลอดเลือด และแคลเซียมจะสูงมากในหลอดเลือด
2.) คนที่กินแคลเซียมเสริม ซึ่งจะมีแคลเซียมไปเกาะไปพอกที่ตัวคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดเยอะขึ้น
สิ่งที่ป้องกันไม่ให้แคลเซียมไปเกาะไปพอกที่ผนังหลอดเลือด คือ 1.) วิตามิน K2 ป้องกันโรคหัวใจตีบตัน ป้องกันหัวใจขาดเลือด ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย มันจะป้องกันไม่ให้แคลเซียมไปเกาะไปพอกที่ผนังหลอดเลือด โดยวิตามิน K2 จะเอาตัวแคลเซียมที่เกาะพอกให้ไปที่กระดูก หลอดเลือดจะไม่เสื่อม ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว แล้วยังได้เรื่องของการเสริมสร้างกระดูกอีกด้วย 2.) แมกนีเซียม (Magnesium) จะออกฤทธิ์ต้านกันกับแคลเซียม ตัวแคลเซียมทำให้หลอดเลือดหดตัว ตัวแมกนีเซียมทำให้หลอดเลือดคลายตัว ตัวแมกนีเซียมเป็นอีกตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมไปเกาะผนังหลอดเลือด
.
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึง สามารถสั่งซื้อได้ทาง
💬 Inbox: m.me/drcanthelp
✅ Line Shopping : https://lin.ee/tpmtgGI
หรือ
✅Line@ของคลีนิค https://lin.ee/piE9kvf
✅ ร้านค้า Shopee: https://shp.ee/nm86kr9
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้…
📌 IG : dr.cant.help