อาหารฟื้นฟู หลังจากติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ
(Long Viral Syndrome)
หากคุณหรือคนใกล้ตัวเคยเป็นเหยื่อของไวรัสที่มาทำลายระบบทางเดินหายใจหรือปอด วันนี้เรามีข้อควรรู้เรื่องอาหารมาแบ่งปันกันค่ะ เพราะแม้การติดเชื้อจะไม่ได้อันตรายเหมือนเก่าเพราะเรามีวัคซีนป้องกันกันแล้ว แต่เรื่องที่น่ากังวลคืออาการต่อเนื่องหลังจากหายดี ที่มีโอกาสเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อได้ถึง 50% เมื่อเป็นแล้ว ก็อาจหนักจนรบกวนชีวิตประจำวัน และส่งผลกับสุขภาพในระยะยาวได้อีกด้วย
.
ไอต่อเนื่อง อ่อนเพลียตลอดเวลา เหนื่อยง่าย หายใจลำบากและแน่นหน้าอก คืออาการต่อเนื่องที่พบได้บ่อยของโรคไวรัสทางเดินหายใจค่ะ แต่เพราะเป็นอาการต่อเนื่องที่อาจยาวนานได้ถึง 4 สัปดาห์ จะให้พึ่งพายาตามอาการตลอดก็คงลำบาก ฉะนั้น การดูแลตัวเองด้วยการกินอยู่ที่ดี ตามฉบับ “กินอย่างไร ได้อย่างนั้น” จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ค่ะ มาดูกันว่าเป็นเมื่อมีอาการต่อเนื่องเหล่านี้แล้วจะต้องกินอะไรบ้าง?
1. โปรตีน (ไข่ เนื้อสัตว์ นม ชีส ถั่ว)
โปรตีนจะเข้าไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนที่ถูกทำลายช่วงที่ร่างกายติดเชื้อ ทั้งยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น และช่วยลดอาการเหนื่อยล้าได้ดีค่ะ
2. โปรไบโอติก (โยเกิร์ต ผักดอง กิมจิ คอมบูชะ) และพรีไบโอติก (กระเทียม ถั่ว หัวหอม และผักไฟเบอร์สูง ข้าวกล้อง)
ถ้าแบคทีเรียในระบบย่อยสมดุลดี ระบบภูมิคุ้มกันก็จะดีไปด้วยค่ะ โพรไบโอติกส์คือจุลินทรีย์ตัวดีที่เราควรเลี้ยงในกระเพาะเพื่อบำรุงสุขภาพและฆ่าเชื้อตัวร้าย อย่าลืมให้อาหารโพรไบโอติกส์ในท้องด้วยพรีไบโอติกส์ด้วยนะคะ
3. ซิงค์ (อัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง ผักโขม ดาร์กช็อกโกแลต)
ซิงค์จะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่หลงเหลือในร่างกายด้วยการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้า ยิ่งได้ผลมากขึ้นเมื่อทานคู่กับวิตามิน C ค่ะ
4. วิตามิน C (ผลไม้รสเปรี้ยว ฝรั่ง พริกหวาน)
วิตามินยืนหนึ่งที่ช่วยบำรุงเม็ดเลือดขาว กองกำลังสำคัญในการกำลังเชื้อโรคในร่างกาย โดยเฉพาะกับสุขภาพปอดของเราค่ะ
5. วิตามิน D (แดดยามเช้า เห็ด ปลาทะเล โยเกิร์ต)
ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ทั้งยังข่วยบำรุงสุขภาพทางเดินหายใจ พร้อมทั้งช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน จากการศึกษายังพบว่าผู้ที่มีวิตามิน D ต่ำจะมีโอกาสติดเชื้อได้รุนแรงมากกว่าด้วยค่ะ
6. วิตามิน A (แครอท ผักโขม ฟักทอง มะเขือเทศ)
มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการอักเสบภายใน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และช่วยให้การดมกลิ่นและรับรสกลับมาดีขึ้นได้ด้วยค่ะ
.
หากอยากทานอาหารเหล่านี้ในรูปแบบอาหารเสริมหรือวิตามินเสริม ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกร หรือคุณหมอประจำตัวดูก่อนนะคะ เพราะวิตามินบางชนิดหากบริโภคมากเกินไปก็อาจเกิดผลเสียกับร่างกายได้ค่ะ
.
ลองเอาบทความนี้ส่งต่อให้คนใกล้ตัวที่กำลังติดเชื้อ หรือหายจากไวรัสแล้วแต่ต้องทนกับอาการต่อเนื่องเหล่านี้อยู่ดูนะคะ สำหรับใครที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ อาหารเหล่านี้ยังสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อีกชั้นหนึ่งด้วย กินดีไว้ก่อนแล้วสุขภาพจะดีตาม มีสุขภาพที่ดีไปด้วยกันนะคะ 🙂