อินซูลิน ความลับของการลดน้ำหนักที่แท้จริง อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน (Insulin) ไ…

อินซูลิน ความลับของการลดน้ำหนักที่แท้จริง

อินซูลิน คืออะไร❓
อินซูลิน (Insulin) ไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมอาการของคนเป็นโรคเบาหวานเท่านั้น อินซูลินคือฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีหน้าที่ส่งพลังงาน (ในรูปของกลูโคสจากการย่อยน้ำตาล) จากเลือดสู่เซลล์และสั่งให้เซลล์ปิดเมื่อได้รับกลูโคสที่เพียงพอแล้ว และมากไปกว่านั้น คือ เมื่อฮอร์โมนอินซูลินออกมา กระบวนการเผาผลาญของร่างกายจะหยุดลง ดังนั้นถ้าเรากินอาหารที่กระตุ้นอินซูลินตลอดเวลา ร่างกายเราก็จะเข้าสู่โหมดรับพลังงานตลอดเวลาเช่นกัน ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เราอ้วน

บางคนเคยพยายามลดน้ำหนักกี่ครั้งก็ไม่เป็นผล ไม่ว่าออกกำลังกาย จะนับแคลลอรี่ แต่น้ำหนักก็ไม่ลงซักที ซึ่งเราต้องเข้าใจกันใหม่ก่อนว่า เราไม่ได้ลดน้ำหนักแล้วจะสุขภาพดี แต่เราต้องสุขภาพดีก่อน แล้วถึงจะลดน้ำหนัก ซึ่งน้ำหนักส่วนเกินเป็นผลของสุขภาพที่ไม่ดี และการลดไขมัน ไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายจะยอมให้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะหน้าที่ของไขมันคือการทำให้มนุษย์อยู่รอด ในภาวะที่ขาดแคลนอาหาร
ฮอร์โมน ที่เป็นตัวการใหญ่เบื้องหลังของการเพิ่มหรือลดน้ำหนัก หรือฮอโมนส์ที่เป็นศัตรูกับการลดน้ำหนักก็คือ อินซูลิน นั่นเอง

มีอินซูลินมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น❓
หากร่างกายมีอินซูลินมากเกินไป ในระยะเวลายาวนาน อวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) หลังจากนั้น ร่างกายจะต้องการอินซูลินมากขึ้นเพื่อส่งกลูโคสเข้าสู่เซลล์ในปริมาณเท่าเดิม
นอกจากนี้ อินซูลินยังมีผลกับสมอง เพราะอินซูลินจะไปกระตุ้นการสร้างโดพามีน หรือฮอร์โมนแห่งความพึงพอใจ เมื่อร่าางกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน การสร้างโดพามีน ซึ่งต้องพึ่งพาอินซูลินก็จะตอบสนองน้อยลงด้วย เราจึงต้องการอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้ได้โดพามีนเท่าเดิม ผลที่ตามมาก็คือ ความอยากอาหารก็จะมากขึ้นด้วย กลายเป็นวงจรอินซูลินในร่างกายสูง ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน
แล้วพุงย้อยๆ ที่เห็นในกระจกอาจเป็นผลจากการที่มีอินซูลินมากเกินไป ว่ากันง่ายๆ คือ
ถ้าอยากลดน้ำหนัก ต้องทำให้อินซูลินในร่างกายลดลง เพื่อให้ร่างกายดึงไขมันที่สะสมไว้ออกมาใช้

ดังนั้น วิธีการลดน้ำหนักให้ได้ผลจึงไม่ใช่การนับแคลลอรี่ แต่เป็นการเลือกทานอาหารที่กระตุ้นอินซูลินน้อย ซึ่งสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะแปลกใจก็คือ ไขมันเป็นอาหารที่กระตุ้นอินซูลินน้อยที่สุด
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมวิธีการลดน้ำหนักแบบ Ketoginic Diet (การลดน้ำหนักแบบทานไขมัน) และ Intermittent Fasting (การลดน้ำหนักแบบแบ่งช่วงเวลากินและงดอาหาร) จึงได้ผลนั่นเอง

วิธีทำให้ร่างกายลดระดับอินซูลินลง มีดังนี้
⬇️ลดแป้งและน้ำตาล
ข้อนี้ตรงตามคุณสมบัติของอินซูลิน กินแป้งมาก อินซูลินก็มากตาม
ทานอาหารประเภทไขมัน เพราะไขมันไม่กระตุ้นอินซูลิน แต่ไขมันจากสัตว์เป็นสิ่งที่ต้องระวังถึงแม้จะไม่กระตุ้นอินซูลินแต่เพิ่มคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ไขมันที่ควรทาน คือ ไขมันดี ที่มี Omega3 และ Omega9

⬇️ลดโซเดียม ซึ่งโซเดียมจะกระตุ้นการสร้างอินซูลินในร่างกายถึง 2 เท่า
ลดความเครียด คอร์ติซอลซึ่งเกิดจากความเครียดเป็นเพื่อนสนิทกับอินซูลิน หากร่างกายผลิตออกมามาก เพื่อนสนิทของก็จะตามมาด้วย
กินน้อยมื้อ การกินบ่อยเกินไป หรือหลายมื้อ ส่งผลให้ร่างกายต้องส่งอินซูลินออกมาตลอด ควรทำ IF ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปแล้ว การกินแป้งและน้ำตาลที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดไขมันส่วนเกิน และเป็นผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และทำให้ร่างกายเสพติดของหวาน การนับแคลอรี่ การงดไขมัน และออกกำลังกายอย่างเดียวจึงอาจไม่ได้ผล ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้เท่าทันและเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับอินซูลินนั่นเอง

สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึงในคลิป สามารถสั่งซื้อได้ทาง Line@ของคลีนิคค่า
📌LINE : https://lin.ee/piE9kvf
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา