เช็คให้ดี…คุณกำลังเสี่ยงป่วยเป็นกลุ่ม ‘โรค NCDs’ อยู่หรือไม่?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารสุดแซ่บหลายอย่างที่เราชื่นชอบนั้น มักอุดมไปด้วย รสหวาน เค็ม มัน ปรุงรสให้จัดจ้านถึงใจ แต่การทานตามใจปากก็มักต้องแลกมากับความเสี่ยงของโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) (Non-Communicable Diseases) โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือคิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดเลยล่ะค่ะ
.
ซึ่งปัจจุบันกลุ่มโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด มีอยู่ด้วยกัน 6 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง โดยแต่ละโรคจะมีสัญญาณเบื้องต้นที่สังเกตุได้ด้วยตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ
.
🔶1. โรคเบาหวาน
-ฉี่บ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะกลางคืน
-น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
-เป็นแผลทีไร หายยาก
-เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
-มีปื้นดำตามคอ ข้อพับ ขาหนีบ
.
🔶2. โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ
-เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
-แขน ขา อ่อนแรงเฉียบพลัน
-ปลายมือ ปลายเท้าชา
-ปวดหน้าอกข้างซ้ายร้าวไปถึงแขน
-พูดลำบาก ปากเบี้ยว
.
🔶3. โรคถุงลมโป่งพอง
-ไอเรื้อรัง
-เป็นหวัดง่าย หายช้า
-เหนื่อยหอบ
-หลอดลมอักเสบบ่อย
-แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด
.
🔶4. โรคมะเร็ง
-ระบบขับถ่ายมีปัญหา
-เกิดแผลเรื้อรังรักษาไม่หาย
-มีเลือด ของเหลวออกมาอย่างผิดปกติ
-มีตุ่มก้อนในร่างกายโตเร็วผิดปกติ
-ไอ และเสียงแหบเรื้อรัง
.
🔶5. โรคความดันโลหิตสูง
-ปวดศีรษะบ่อยๆ
-หลังตื่นนอนมึนงง ตาพร่า
-มีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ
-ปวดหัวเฉียบพลันบ่อยๆ
-อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น
.
🔶6. โรคอ้วนลงพุง
-รูปร่างคล้ายลูกแพร์
-เริ่มหาเสื้อผ้าใส่ยาก
-ไขมันในช่องท้องสะสมเป็นชั้น
-ข้อเข่าเริ่มรับน้ำหนักตัวเองไม่ไหว
-ทำอะไรก็เหนื่อยง่าย
.
โรค NCDs เป็นโรคเชิงพฤติกรรมที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการชอบทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือมีไขมันสูง การชอบทานอาหารปิ้งย่าง ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย นอนน้อย นอนไม่เป็นเวลา ดังนั้น เพื่อให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้ เราจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้ค่ะ
.
-ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้
-เลี่ยงทานอาหารรสจัด และอาหารปิ้งย่าง
-ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 ครั้ง/สัปดาห์
-งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
-พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา
-หาเวลาผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงความเครียด
-ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์
-ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
.
การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา ลองหมั่นสังเกตุตนเองกันบ่อยๆ นะคะว่าคุณกำลังเสี่ยงเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs อยู่หรือไม่ หากเรารู้ทัน รู้เร็ว เพื่อที่จะได้ปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้ได้ตั้งแต่วันนี้ และดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้องและทันเวลาค่ะ