เป็นเหน็บชาบ่อย เสี่ยงอันตรายกว่าที่คุณคิด . ใครๆ ก็เคยเป็นเหน็บชา เวลาที่นั่งข…

เป็นเหน็บชาบ่อย เสี่ยงอันตรายกว่าที่คุณคิด ‼️
.
ใครๆ ก็เคยเป็นเหน็บชา เวลาที่นั่งขัดสมาธิ นั่งไขว่ห้าง หรือเกร็งนานๆ แต่ชาแปบเดียวเดี๋ยวก็หาย อาการชาแบบนี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดจากการกดทับค่ะ แต่รู้ไหมคะ ว่ายังมีเหน็บชาอีกแบบที่เราไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งกว่า วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับโรคเหน็บชา โรคที่เป็นกันมากในหมู่คนเอเชียอย่างเราค่ะ
.
⚠️ โรคเหน็บชา (Beriberi) หรือ ภาวะขาดแคลนวิตามิน B1 คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนประสาทรับความรู้สึก มักเป็นกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทานข้าวขาวและธัญพืชขัดสีเป็นอาหารหลักค่ะ เพราะธัญพืชที่ผ่านการแปรรูปเหล่านี้จะสูญเสียวิตามิน B1 ไปนั่นเอง
.
🔸 วิตามิน B1 หรือ ไทอามีน (Thiamine) นั้นมีหน้าที่ช่วยบำรุงระบบประสาท เป็นวิตามินที่ไม่สามารถกักเก็บไว้ในร่างกายได้ ร่างกายจะขับออกหากได้รับมามากเกินไป จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารอย่างเพียงพอ แต่ถ้าร่างกายได้รับวิตามิน B1 ไม่เพียงพออยู่บ่อยๆ ก็จะเสี่ยงเกิดโรคทางประสาทอย่างโรคเหน็บชาได้มากขึ้นค่ะ
.
😨 อาการของโรคเหน็บชานั่น ไม่ได้มีแค่อาการชาตามชื่อโรค แต่ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย บางอาการของโรคอาจส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ด้วยค่ะ เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน อาการทางจิต ชัก และเป็นอัมพาต เราสามารถแบ่งโรคเหน็บชาได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้ค่ะ
.
1️⃣ โรคเหน็บชนิดผอมแห้ง (Dry Beriberi) จะมีอาการชาบริเวณปลายมือและเท้า แต่จะไม่มีอาการบวม กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ปวดตามตัว ลุกขึ้นเองไม่ได้เวลานั่งยองๆ อาจมีอาการประสาทหลอน สับสน และควบคุมการพูดไม่ได้ยาก
.
2️⃣ โรคเหน็บชาชนิดเปียก (Wet Beriberi) มีชาตามปลายมือปลายเท้า มีอาการบวมที่ขา หัวใจโต หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ อาจมีน้ำคั่งในช่องท้องและปอด เสี่ยงจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้ค่ะ
.
‼️ อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทั้งหมดค่ะ ในระยะแรกผู้ป่วยอาจจะแค่รู็สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เป็นเหน็บชาบ่อยๆ จึงทำให้เข้าใจผิดได้ง่ายว่าเป็นอาการปกติ ข้อสังเกต คือ อาการเหน็บชาไม่มีสาเหตุและเป็นบ่อยผิดจนสังเกต แม้จะไม่มีอาการทั้งหมดก็ไม่ควรละเลยอาการเบื้องต้น ปรึกษาคุณหมอ และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วยนะคะ
.
🚨 ปัจจัยเพิ่มเสี่ยงโรคเหน็บชา
▪️ ทานธัญพืชขัดสีและแปรรูปอยู่เสมอ เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เพราะวิตามิน B1 มักพบอยู่ในธัญพืชไม่ขัดสีและธัญพืชเต็มเมล็ดค่ะ
▪️ ทานอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมวิตามิน B1 เป็นประจำ เช่น ใบเมี่ยง ใบหมากพลู ปลาร้า แหนมดิบ ปลาน้ำจืดดิบ แอลกอฮอล์
▪️ มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคเหน็บชา
▪️ ผู้ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
▪️ ทานยาบางชนิดติดต่อกันนานๆ เช่น ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาลดกรด ยากลุ่มซัลฟา
▪️ การตั้งครรภ์ อยู่ในภาวะให้นมบุตร หรืออยู่ในช่วงพักฟื้นหลังผ่าตัด เป็นช่วงที่ร่างกายจะต้องได้รับวิตามิน B1 มากขึ้นกว่าปกติ
▪️ ทารกที่ดื่มนมจากแม่ที่ได้รับวิตามิน B1 ไม่เพียงพอ
▪️ โรคพิษสุราเรื้อรัง
.
🥜 ป้องกันโรคเหน็บชาด้วยการทานอาหารอุดมวิตามิน B1 เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี เมล็ดทานตะวัน ข้าวกล้อง ถั่วลิสง ถั่วลันเตา เต้าหู้ ไข่แดง หอย แซลมอน หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม
.
แม้โรคเหน็บชาจะเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าตรวจพบแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หาย หัวใจหรือระบบประสาทก็ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วค่ะ ฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ และที่สำคัญคือทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ครบถ้วน และอุดมด้วยวิตามิน B1 เป็นประจำนะคะ 🙂
.
#อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #Disease #เหน็บชา #วิตามินB1

ติดต่อเรา