Hypersomnia นอนมากเกินไป ก็สุขภาพเสียได้ . เป็นที่รู้กันดีว่า การนอนนั้นสำคัญต่…

Hypersomnia นอนมากเกินไป ก็สุขภาพเสียได้ 😰
.
เป็นที่รู้กันดีว่า การนอนนั้นสำคัญต่อสุขภาพในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านกายภาพและจิตใจ ทุกๆ เซลล์ในร่างกายเราต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟู
.
การนอนน้อย นอนไม่พอจึงทำให้สุขภาพเสียใช่ไหมคะ? แปลว่า ถ้าเรานอนมากๆ ไว้ก่อนร่างกายจะยิ่งฟื้นฟูได้ดีใช่ไหม? แต่จริงๆ แล้วผิดนะคะ เพราะการนอนมากไปก็ทำให้สุขภาพเสียได้เช่นกัน วันนี้เราจะชวนคุณมาทำความรู้จักโรคง่วงนอนผิดปกติ หรือ Hypersomnia กันค่ะ
.
😴 Hypersomnia คือ โรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการอยากนอนระหว่างวันทั้งที่เมื่อคืนนอนมาเต็มอิ่ม หรือนอนมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเรื่องธรรมดาหากคุณจะอยากนอนมากกว่าเดิมหน่อยในบางวัน แต่หากเป็นบ่อยๆ จนสังเกตได้เราขอแนะนำให้คุณลองเช็กพฤติกรรมเหล่านี้ดูสักหน่อย หากคุณมีอาการต่อไปนี้ต่อเนื่องกันมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ลองปรึกษาคุณหมอดูนะคะ
.
⚠️ นอนมากกว่า 8 ชั่วโมง/วัน
⚠️ งัวเงีย ตื่นยากเมื่อถึงเวลาต้องตื่น
⚠️ ตื่นได้สักพักแล้วแต่ยังอยากกลับไปนอน
⚠️ งีบบ่อยระหว่างวัน
⚠️ หลังงีบแล้วก็ยังรู้สึกง่วง ไม่สดชื่น
⚠️ รู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรงเป็นประจำ
⚠️ ปวดหัวอยู่บ่อยๆ
⚠️ ไม่ค่อยมีสมาธิ หลงๆ ลืมๆ
.
นอนมากขนาดนี้เป็นเพราะเราขี้เกียจใช่ไหม? โรคนี้ไม่ได้เกิดจากนิสัยส่วนตัวเสมอไปนะคะ คุณหมอพบว่าการนอนมากผิดปกติเหล่านี้มักเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายค่ะ สาเหตุของการนอนมากเกินไปนั่นมีอยู่หลักๆ 4 ประเภทด้วยกัน เวลาเข้ารับการรักษา คุณหมอจะพยายามหาสาเหตุก่อนว่า Hypersomnia ของคุณเกิดจากสาเหตุในกลุ่มไหน และเพราะอะไร เพื่อเลือกตัวยา การบำบัด และการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมนั่นเองค่ะ
.
1️⃣ เกิดจากความผิดปกติของสมอง เช่น สมองได้รับอุบัติเหตุ หรือเกิดความผิดปกติของสมองส่วนควบคุมการนอนหลับ
2️⃣ เกิดจากโรคอื่นๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายต้องการนอนหลับที่มากผิดปกติ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ โรคซึมเศร้า โรคไต โรคหัวใจและโรคอ้วน
3️⃣ เกิดจากการได้รับสารบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยารักษาโรคบางตัว แอลกอฮอร์และสารเสพติด
4️⃣ เกิดจากพฤติกรรมการนอนและความเคยชิน เช่น อดนอนติดต่อกันนานๆ จนร่างกายรับไม่ไหว หรือต้องย้ายประเทศที่มีไทม์โซนแตกต่างกันมาก
.
ถ้าแก้ที่สาเหตุได้ Hypersomnia ก็หายไปด้วยใช่ไหม? แม้คุณหมอมักจะรักษาที่ต้นตอ แต่เพราะสาเหตุของ Hypersomnia ต้องใช้เวลานานในการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเพราะโรคต้นทางหรือเพราะพฤติกรรม ต่างก็ต้องใช้เวลาในการรักษา เราจึงอยากแนะนำให้ปรับพฤติกรรมในเบื้องต้นไปด้วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการนอนมากอันจะนำไปสู่ผลร้ายอื่นๆ และเพื่อช่วยกระตุ้นให้การแก้ไขที่ต้นตอทำได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ
.
1️⃣ นอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นชินให้ร่างกาย
2️⃣ พยายามไม่งีบกลางวัน เพื่อควบคุมเวลานอนและช่วยให้หลับง่ายขึ้นในตอนกลางคืน
3️⃣ งดใช้มือถือก่อนนอน แสงจากจอทำให้ร่างกายตื่นตัว นอนได้ยากขึ้น
4️⃣ ไม่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนในช่วยบ่าย
5️⃣ สร้างบรรยากาศการนอนที่ดี ห้องมืดสนิท ไร้เสียงรบกวน
6️⃣ ทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟัง ASMR
.
อย่างที่เห็นค่ะว่าการนอนหลับมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายหลายชนิด การเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจร่างกายจึงเป็นทางเลือกที่ดี เผื่อว่าคุณจะมีโรคอะไรซ่อนอยู่จะได้รักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้ การนอนมากไปติดต่อกันยังนำไปสู่ผลร้ายอีกหลายข้อนะคะ
.
1️⃣ ร่างกายอ่อนแอ ไม่มีแรง
2️⃣ ฮอร์โมนแปรปรวน
3️⃣ น้ำหนักเพิ่มง่าย
4️⃣ สมองเฉื่อยชา
5️⃣ ผู้หญิงมีบุตรยากขึ้น
6️⃣ กระตุ้นภาวะซึมเศร้า
7️⃣เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ
.
จะเห็นว่าสุขภาพการนอนที่ดี จะนำซึ่งสุขภาพดีเช่นกันค่ะ นอนมากไปหรือน้อยไปจะนำไปสู่ผลที่ตรงกันข้ามแทน อย่าลืมสำรวจพฤติกรรมการนอนของคุณอยู่เสมอนะคะ : )
.
#อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #Disease #นอนมากเกินไป #Hypersomnia

ติดต่อเรา