ยาเม็ดคุมกำเนิดกับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง . การทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีป…

🔹 ยาเม็ดคุมกำเนิดกับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
.
การทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย ทานได้สะดวก และมีประสิทธิภาพดี แต่ก็ยังมีคนไม่น้อยที่กังวลในเรื่องของความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ๆ
.
ในปัจจุบันมียาเม็ดคุมกำเนิดอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ ชนิดฮอร์โมนผสม (Combined Oral Contraceptive) ประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ชนิด ได้แก่ เอสโตรเจน และโปรเจสติน และชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Minipill) ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว โดยจากการศึกษาวิจัยพบว่าฮอร์โมนเพศเหล่านี้อาจมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม โดยมีข้อสรุปดังนี้
.
.
.
🔹 ความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม
.
จากการศึกษาในหลาย ๆ แห่ง พบว่ายังคงไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การทานยาเม็ดคุมกำเนิดส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
.
โดยการศึกษาของ National Cancer Institute (NCI) พบว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่เริ่มใช้ยาตั้งแต่วัยรุ่น แต่หากหยุดใช้ยาเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงจะลดลงจนเท่ากับผู้ที่ไม่เคยใช้ยา แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่น เช่น อายุ กรรมพันธุ์ ปริมาณและระยะเวลาการใช้ยา เป็นต้น
.
แต่ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษาของ Women’s Contraceptive and Reproductive Experiences (Woman’s CARE) กลับพบผลลัพธ์ในทางตรงข้าม คือ ความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเคยใช้มาก่อนหรือกำลังใช้อยู่ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ก็ไม่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด
.
.
🔹 ความเสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่และเยื่อบุโพรงมดลูก
.
มีหลายการศึกษาที่พบว่า การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการป้องกันจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยจะช่วยลดความเสี่ยงได้ถึง 10-12% หลังการใช้ยา 1 ปี และลดความเสี่ยงถึงกว่า 50% เมื่อใช้ในระยะเวลา 5 ปี อีกทั้งยังคงส่งผลอีกหลายปีหลังหยุดการใช้ยา
.
นอกจากนี้ จากการศึกษาของ Cancer and Steroid hormone Study (CASH) ยังพบว่า ปริมาณฮอร์โมนโปรเจสตินในยาเม็ดคุมกำเนิดที่สูง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าปริมาณที่ต่ำอีกด้วย
.
.
🔹 ความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก
.
มีการศึกษาที่แสดงว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ถึงอย่างไร เชื้อ HPV (Human Papilloma) ก็ยังคงเป็นสาเหตุหลักของโรคอยู่
.
และจากการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC) พบว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ความเสี่ยงจะค่อย ๆ ลดลงหลังการหยุดใช้ยา และพบว่าความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4 เท่า หากผู้ป่วยที่มีเชื้อ HPV ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันยาวนาน 5 ปีขึ้นไป
.
.
🔹 ความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
.
หลายการศึกษาระบุว่า ชาติพันธุ์เป็นปัจจัยหลักต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับ โดยจะมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำในหมู่ประชากรทวีปสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่กลับมีความเสี่ยงที่สูงในหมู่ประชากรทวีปเอเชียและแอฟริกา โดยนักวิจัยเชื่อว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีผลต่อความเสี่ยงในมะเร็งตับแค่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น
.
.

.
🆓 เเจกฟรี!! 🆓 E-Book “Hypertension & #bluzoneวิถีชีวิตที่ยั่งยืน Cholesterol” By. Dr. AUT
👉 เพียงแค่ แอดไลน์ผ่านลิงค์นี้ค่ะ
https://lin.ee/MWBNVxK
#bluzone
#bluzoneวิถีชีวิตที่ยั่งยืน

ติดต่อเรา