8 สัญญาณที่อาจบ่งบอกว่า “ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ” . หลายคนรู้จัก “โรคไทรอยด์” …

8 สัญญาณที่อาจบ่งบอกว่า ⚠️
“ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ”
.
หลายคนรู้จัก “โรคไทรอยด์” แต่อาจไม่ได้ใส่ใจมากนักเพราะมองว่าไกลตัว ทั้งที่ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไทรอยด์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย นอกจากนี้ หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคไทรอยด์ เนื่องจากอาการของโรคไทรอยด์นั้นมีด้วยกันหลากหลายตามแต่ประเภทของโรคไทรอยด์ โดยที่พบได้บ่อยก็คือ
.
❌ Hyperthyroidism (ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ)
❌ Hypothyroidism (ภาวะไฮโปไทรอยด์)
❌ Goiter (โรคคอพอก)
❌ Thyroid Cancer (มะเร็งต่อมไทรอยด์)
.
เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมกระบวนการเผาผลาญ เมื่อการทำงานของต่อมไทรอยด์มีปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อทั่วทั้งระบบของร่างกายและนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงต่างๆ ซึ่งหากรู้ตัวเร็ว รักษาเร็ว ก็จะช่วยให้รับมือได้ทันท่วงทีและดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้องในระยะยาวค่ะ โดยสัญญาณทั่วไปของโรคไทรอยด์ที่เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองมีดังต่อไปนี้:
.
1️⃣ มีก้อนนูนเกิดขึ้นที่ลำคอ บริเวณลูกกระเดือกในเพศชาย หรือบริเวณเหนือไหปลาร้าในเพศหญิง ซึ่งอาจเกิดจากอาการคอพอก
2️⃣น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ โดยไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารหรือออกกำลังกาย
3️⃣ ประจำเดือนผิดปกติ ทั้งประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมาบ่อย ประจำเดือนมามากเกินไปหรือน้อยเกินไป
4️⃣ไวต่ออุณหภูมิของอากาศ เช่น รู้สึกร้อนหรือรู้สึกหนาวเย็นมากกว่าปกติ
5️⃣มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด วิตกกังวลมากขึ้น รวมถึงมีปัญหาในการนอนหลับ
6️⃣ รู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการสั่น
7️⃣ผมร่วง ผมบาง หรือเส้นผมมีลักษณะแห้ง หยาบกระด้าง
8️⃣มีอาการระคายเคืองตา หรือมีปัญหาในการมองเห็น
.
จะเห็นได้ว่า อาการของโรคไทรอยด์นั้นคล้ายกับภาวะสุขภาพอื่นๆ หลายอย่าง ส่งผลให้คนที่เป็นอาจไม่รู้ตัวหรือนึกไม่ถึงว่าอาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา ถึงแม้ว่าโรคไทรอยด์จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ก็พบได้มากในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ค่ะ
.
✅ ปัจจัยด้านพันธุกรรม ครอบครัวมีประวัติโรคไทรอยด์
✅ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยเฉพาะในเพศหญิง
✅ ผู้ที่บริโภคยาที่มีไอโอดีนสูงเป็นประจำ
✅ ผู้ที่เคยได้รับการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์หรือภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทรอยด์
✅ โรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางชนิดรุนแรง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus)
.
หากใครพบสัญญาณเตือนหรือมีความเสี่ยงต่อโรคไทรอยด์ดังกล่าว ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพราะหากตรวจพบความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ได้เร็ว ก็จะช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก่อนที่จะมีอาการร้ายแรงอื่นๆ ตามมาค่ะ
.
#อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #ต่อมไทรอยด์

ติดต่อเรา