“ลดเสี่ยง” จากภาวะสมองเสื่อม โรคสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่…

“ลดเสี่ยง” จากภาวะสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ซึ่งอาการของโรคสมองเสื่อมที่พบได้ คือ การสูญเสียความจำ มีปัญหาในการใช้ภาษา บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป มีอาการหลงลืม ความจำไม่ดี ความสามารถในการควบคุมอารมณ์หรือแก้ปัญหาลดน้อยลง ซึ่งโรคนี้จะพบได้มากตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะเป็นผลมาจากการเสื่อมถอยของร่างกายและกระบวนการชราภาพที่เกิดขึ้น อาจมาจากกรรมพันธุ์ รูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน รวมถึงโรคประจำตัวต่างๆ ด้วยเช่นกัน ในบางคนก็อาจรู้อยู่แล้วว่าการหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป การทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อมได้ แต่ก็ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถลดความเสี่ยงได้เช่นกัน วันนี้เราจึงมาบอกวิธีการลดความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อมกันค่ะ
.
1. ระวังระดับวิตามิน D ต่ำ
นักวิจัยของประเทศอังกฤษ พบว่า ผู้ที่ขาดวิตามิน D อย่างรุนแรง (น้อยกว่า 10 ng/ml) จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 122% เลยทีเดียว ส่วนผู้ที่พร่องวิตามิน D (น้อยกว่า 20 ng/ml) มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคสมองเสื่อมถึง 51% ซึ่งการป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมที่ดีคือ ควรรับแสงแดดอย่างเหมาะสม ทานอาหารที่มีวิตามิน D เช่น ปลาต่างๆ (ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดัน ปลาทู ปลาทับทิม ฯลฯ) ไข่แดง ตับ กุ้ง เห็ด เป็นต้น แต่บางครั้งการทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจได้รับวิตามิน D ไม่เพียงพอต่อระบบในร่างกาย การเสริมด้วยอาหารเสริมวิตามิน D ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แล้วควรเสริมเป็นวิตามิน D3 ซึ่งเป็นวิตามินที่เหมาะสมต่อระบบในร่างกายและร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูง
.
2. การกินให้น้อย หรือ การทำ IF
ควรทำ IF 16/8 คือ ทานอาหารในช่วง 8 ชม. และอีก 16 ชม. ไม่ทานอะไรเลย นอกจากน้ำเปล่า ซึ่งการทำ IF เมื่อไม่ทานอาหารจะเกิดการซ่อมแซมตัวเองของเซลล์ที่เรียกว่า “Autophagy” คือ เซลล์ปกติจะกินเซลล์ที่ไม่ดีไป โรคสมองเสื่อมจะมีโปรตีนเทา (Tau Protein) ที่เมื่อมีปริมาณสูงจะทำให้สมองเสื่อม ซึ่งเวลาทำ IF เซลล์ปกติจะไปกินโปรตีนเทา (Tau Protein) ไป ทำให้โปรตีน เทาน้อยลง จึงทำให้โอกาสเกิดสมองเสื่อมน้อยลงด้วย เพราะฉะนั้นการทำ IF จึงช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้นั่นเอง
.
3. ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี
การดูแลสุขภาพฟันและเหงือกให้ดีสามารถช่วยปกป้องสมองได้ด้วย จากการศึกษา พฤติกรรมของผู้สูงอายุประมาณ 5,500 คน ในระยะเวลา 18 ปี พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มีสุขภาพในช่องปากไม่ดีกับโรคสมองเสื่อม โดยคนที่แปรงฟันน้อยกว่าวันละครั้งจะมีโอกาสสมองเสื่อมมากกว่าคนที่แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ถึง 65% เลยทีเดียว โดยแบคทีเรียในช่องปาก การเกิดโรคเหงือกสัมพันธ์กับสมอง หากเกิดการอักเสบจะทำให้สมองเสียหายได้ด้วยเช่นกัน
.
4. นอนให้ดี นอนให้พอ
ควรนอน 7 ชม. ขึ้นไปจึงจะดี ถ้านอนต่ำกว่า 5 ชม. สมองมีโอกาสเสื่อมเยอะขึ้น เซลล์สมองตายเพิ่มขึ้น ยิ่งในผู้สูงอายุต่อมไพเนียลจะฝ่อ ทำให้เมลาโทนิน (Melatonin) ผลิตน้อยลง จึงทำให้นอนไม่หลับ แต่ถ้ามีการผลิตเมลาโทนินออกมาเยอะจะยิ่งทำให้ฮอร์โมนอื่นๆ ออกมาด้วย เช่น โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนเพศที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย และยังสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทในสมอง ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
.
5. นอนในท่าที่เป็นมิตรกับสมอง
ท่าทางในการนอนหลับมีความสำคัญกับสมอง โดยเฉพาะท่านอนตะแคง ซึ่งงานวิจัยพบว่า การนอนตะแคงอาจช่วยเรื่องกระบวนการจำกัดของเสียของสมอง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน แล้วจากการศึกษาของ Journal of Neuroscience พบว่า ระบบทางเดินน้ำเหลืองของสมองเป็นระบบที่ซับซ้อนที่ช่วยขจัดของเสียและสารอันตรายออกจากสมอง แล้วจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อคนนอนตะแคง โดยทางเดินน้ำเหลืองมีหน้าที่กรองน้ำไขสันหลังผ่านสมองเพื่อล้างของเสียออกจากสมอง เช่น โปรตีนเทา (Tau Protein), แอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) ที่เป็นสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อระบบประสาทของสมอง
.
6. ให้ฮอร์โมนดีแก่ร่างกาย
คนไข้สมองเสื่อม อายุ 60-80 ปี ร่างกายมีฮอร์โมนน้อยลง ยิ่งต้องเติมฮอร์โมนลงไปในร่างกาย ฮอร์แทบทุกตัวในร่างกายมีผลต่อโรคอัลไซเมอร์แทบทั้งหมด ฮอร์โมนตัวที่เด่น คือ ต่อมไทรอยด์ เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น การสร้างต่อมไทรอยด์ก็จะลดลง เมื่อไทรอยด์ลดลงพบว่า ประสิทธิภาพการทำงานสมองลดลง คิด จำ แย่ลง เมื่อรู้ว่าไทรอยด์ต่ำ อาจใช้อาหารเสริม ที่เรียกว่า Armour Thyroid ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ​การทำงานของสมอง​ ทำให้การคิดและความจำดีขึ้น​ และยังช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญ​ให้ร่างกายด้วย
.
7. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่ทำลายสมอง
เป็นที่รู้กันแล้วว่าโรคสมองเสื่อมไม่ได้เป็นเพียงโรคที่เกิดขึ้นจากรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว แต่มักมีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน ยิ่งในคนที่ต้องสัมผัสหรือใช้ชีวิตอยู่กับยาฆ่าแมลง DDT (Dichlorodiphenyl trichloroethane) จึงต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะในงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับสารเคมี DDT ในเลือดสูงมักพบว่าเป็นโรคสมองเสื่อม แม้ปัจจุบันจะมีการยกเลิกใช้สาร DDT ไปแล้วแต่สารนี้ก็ยังคงตกค้างอยู่ในระบบนิเวส ยังคงค้างอยู่ในดินหรือสะสมในตัวของสิ่งมีชีวิตอยู่ ทั้งในสัตว์หรือพืชพันธุ์บางชนิด หากเมื่อกินเข้าไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควรกินอาหารที่ปลอดสารพิษหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีเช่นกัน
.
8. ระวังไม่ให้ทองแเดงอยู่ในร่างกายมากเกินไป
เนื่องจากระบบในร่างกายของเราควรต้องมีทองแดงอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกระดูก ฮอร์โมน และเส้นประสาท เเต่หากมีมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อเส้นประสาทในสมองได้ จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงใน Proceedings of the National Academy of Sciences ปี 2013 พบว่า ทองแดงจะกระตุ้นให้เกิดโรคสมองเสื่อมและกระตุ้นให้เกิดโรคอื่นได้
.
ใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย งานวิจัยจาก Rush University Medical Center พบความเชื่อมโยงที่น่าสนใจระหว่างความรู้สึกที่มีเป้าหมายของแต่ละคนกับความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม โดยคนที่มีเป้าหมายในการใช้ชีวิตมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมได้น้อยกว่า 2.4 เท่า ของคนที่ไม่มีเป้าหมายในชีวิต นั่นแสดงให้เห็นว่าคนที่มีเป้าหมายในชีวิต วางแผนการใช้ชีวิต รู้สึกดีเมื่อนึกถึงความสำเร็จในอดีต มีความหวังกับสิ่งที่จะทำในอนาคต หรือการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ก็จะช่วยสร้างสิ่งมหัศจรรย์ในเรื่องของสมอง ห่างไกลภาวะสมองเสื่อมได้
.
ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ไม่มีใครอยากพบเจอ การที่ต้องหลงลืม จดจำอะไรไม่ได้ ลืมคนที่เรารักหรือรักเรา ลืมเหตุการณ์ที่สำคัญในชีวิต เป็นสิ่งที่ทรมานจิตใจและไม่มีใครอยากให้เกิด หรือการที่เรามองเห็นคนที่เรารักจดจำสิ่งต่างๆ ไม่ได้ก็เป็นความรู้สึกที่ไม่ดีเช่นกัน ถึงแม้ว่าโรคสมองเสื่อมอาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์แต่การไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตก็มีบทบาทสำคัญ จึงควรดูแลและป้องกันโรคสมองเสื่อมอย่างใกล้ชิด อย่าละเลยปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ หากเกิดโรคนี้ขึ้นไม่ใช่แค่ตัวเราที่พบเจอปัญหา แต่ครอบครัวหรือคนที่เรารักก็ต้องพบเจอปัญหาด้วย ยังไงก็อย่าลืมใส่ใจสุขภาพของตัวเอง และคนที่คุณรักกันนะคะ : )
.
✅Line Official https://lin.ee/piE9kvf
💬 Inbox: m.me/drcanthelp
หรือ
✅ Line Shopping : https://lin.ee/tpmtgGI
✅ ร้านค้า Shopee: https://shp.ee/nm86kr9
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้…
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา