นอนกัดฟัน ภัยเงียบยามหลับ อาจทำให้ “สูญเสียฟันถาวร” . ถึงแม้ว่าการนอนหลับจะเป…

🦷 นอนกัดฟัน
ภัยเงียบยามหลับ
อาจทำให้ “สูญเสียฟันถาวร” ⚠️
.
ถึงแม้ว่าการนอนหลับจะเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่ก็มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการนอนหลับที่ควรระวังเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นอาการกรน หยุดหายใจขณะหลับ (OSA) และอีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัวก็คือ “นอนกัดฟัน” ซึ่งอาจฟังดูเหมือนไม่อันตรายเท่าไหร่ แต่จริงๆ แล้วอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในช่องปากและฟัน จนกลายเป็นสูญเสียฟันอย่างถาวรได้เลยล่ะค่ะ
.
🦷นอนกัดฟันมีอาการอย่างไร?
อาการนอนกัดฟันนั้น จะเกิดขึ้นในขณะนอนหลับโดยฟันบนล่างบดถูไถซ้ำไปมาจนเกิดเสียงดัง ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจเป็นมากกว่า 80-100 ครั้งต่อคืน โดยทั่วไปคนนอนข้างๆ มักจะได้ยินเสียงกัดฟัน แต่หากเป็นในลักษณะขบฟันแน่นๆ ก็จะไม่ค่อยมีเสียงเท่าไหร่ จึงถือเป็นภัยเงียบที่คนมักเป็นแบบไม่รู้ตัว แต่อาจสังเกตได้จากอาการปวดขากรรไกรหลังตื่นนอน รู้สึกไม่สดชื่น ปวดศีรษะ หรือมีอาการตึงๆ ชาๆ เจ็บที่บริเวณฟัน เป็นต้น
.
🦷 สาเหตุที่ทำให้นอนกัดฟัน
มีอยู่ด้วยกันหลากหลายสาเหตุค่ะ ไม่ว่าจะเป็น
🚨 ความเครียด วิตกกังวล ซึ่งจะทำให้ร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง หลอดเลือดสูบฉีด กล้ามเนื้อเกร็ง จนเกิดอาการการกัดฟันในที่สุด
🚨 ฟันกรามไม่ตรงแนว เกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม ทำให้ฟันกรามมีลักษณะผิดรูปจนเกิดอาการกัดฟัน ขบกัดไม่ตรงแนว
🚨 ยารักษาโรคบางประเภท อาจส่งผลให้มีอาการกัดฟันได้ รวมไปถึงยารักษาโรคทางจิตเวช เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ตลอดจนยารักษาอาการทางจิตอื่นๆ
🚨 ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสารกระตุ้นเข้าสู่ร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงในการนอนกัดฟันมากขึ้นถึง 2 เท่า
🚨 ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน มากกว่า 6 แก้วขึ้นไปต่อวัน อาจทำให้นอนหลับไม่สนิทจนเกิดอาการกัดฟันได้
🚨 เกิดร่วมกับความผิดปกติขณะนอนหลับอื่นๆ เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากการอุดกั้นของหลอดลม และการนอนกรน เป็นต้น
.
🦷 ผลเสียของการนอนกัดฟัน
หลายคนอาจคิดว่าผลที่ตามมามีแค่ฟันสึก แต่ไม่ใช่เลยค่ะเพราะมีปัญหาที่ร้ายแรงกว่านั้นอีก ดังเช่น:
🔘 ฟันสั้นลง เนื้อฟันบาง คอฟันลึกเห็นร่อง มีผลต่อความสวยงามของฟันในอนาคต
🔘 หากสึกลึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน จะเกิดอาการเจ็บปวดเมื่อเคี้ยวอาหาร และเริ่มมีปัญหาของการเสียวฟัน
🔘 ส่งผลให้รูปหน้าเปลี่ยน กระดูกกรามใหญ่ กระดูกนูน กล้ามเนื้อบริเวณแก้มขยายใหญ่ขึ้น
🔘 ฟันบิ่น แตก ร้าว สูญเสียฟันถาวร
🔘 อาจเกิดปัญหาความสัมพันธ์ กระทบต่อชีวิตคู่
.
ดังนั้น หากใครพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างมีอาการนอนกัดฟัน ก็ไม่ควรปล่อยไว้เพราะคิดว่าไม่ใช่อาการร้ายแรง แต่ควรไปขอคำแนะนำการรักษากับทันตแพทย์ ซึ่งอาจจะมีการรักษาด้วยการใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เพื่อบรรเทาอาการนอนกัดฟัน ร่วมกับการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง เช่น งดคาเฟอีน ไม่ควรกินก่อนนอนมากเกินไป ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหามากมายในอนาคตนะคะ
.
#อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #นอนกัดฟัน

ติดต่อเรา