6 อาหารยิ่งกินบ่อย ยิ่งเข้าใกล้ “มะเร็ง” . ในยุคที่มะเร็งกลายเป็นโรคที่ใครๆ ก็…

6 อาหารยิ่งกินบ่อย
ยิ่งเข้าใกล้ “มะเร็ง” 😨
.
ในยุคที่มะเร็งกลายเป็นโรคที่ใครๆ ก็เสี่ยงเป็นได้ แถมจำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเราเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีปนเปื้อน มลภาวะในอากาศ ฝุ่น ควันบุหรี่มือสอง รวมไปถึงในอาหารที่เราทานเป็นประจำ โดยจากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่มักมีสารก่อมะเร็งปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก มีดังต่อไปนี้
.
อาหารแปรรูป และอาหารปรุงแต่ง
👉 เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก เบคอน มักจะมี “ดินประสิว” ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่า “โปตัสเซียมไนเตรต” เป็นส่วนประกอบ เพราะจะช่วยคงสภาพให้เนื้อมีสีแดงน่ารับประทานและมีคุณสมบัติเป็นสารกันบูด แต่สารเหล่านี้ก็จัดเป็นสารก่อมะเร็ง หากร่างกายได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเม็ดเลือดขาวมากขึ้น
.
อาหารปิ้งย่าง รมควัน
👉 เช่น ไก่ย่าง หมูปิ้ง หมูกระทะ มีสารชื่อว่า พีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษเป็นสารก่อมะเร็งและลอยกลับขึ้นมาจับที่เนื้อสัตว์บนเตา หากรับประทานในปริมาณมากก็จะเกิดการสะสมในร่างกายและเสี่ยงโรคมะเร็ง
.
อาหารทอดใช้น้ำมันซ้ำ หรืออบความร้อนสูง
👉 น้ำมันที่ถูกใช้ซ้ำเกินสองครั้งนั้น จะเกิดสารก่อมะเร็งชื่อว่า อะคริลาไมด์ (Acrylamide) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของน้ำมันที่เสื่อมสภาพ หากบริโภคติดต่อกันก็จะสะสมในร่างกายและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้
.
อาหารไขมันสูง
👉 เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันแปรรูป เช่น มาการีน เนยขาว รวมถึงไขมันในเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ไม่ควรบริโภคมากจนเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจนเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดตีบแล้ว ไขมันประเภทนี้ยังมีส่วนเชื่อมโยงต่อการก่อตัวของมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย
.
อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง
👉 แม้ว่าเกลือจะให้ไอโอดีน ซึ่งช่วยป้องกันโรคคอพอกได้ แต่หากบริโภคในปริมาณสูงเกินไป ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารได้ เพราะเมื่อร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ก็จะส่งผลให้ปริมาณเกลือโพแทสเซียมลดลง ซึ่งจะทำให้ ภูมิต้านทานในร่างกายลดลงตามไปด้วย
.
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
👉 สารเอทานอลในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะถูกย่อยสลายในร่างกาย กลายเป็นสาร “อะเซทแอลดีไฮด์” ซึ่งมีผลทำให้เซลล์ในร่างกายอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น นอกจากนี้ หากสูบบุหรี่เป็นประจำร่วมด้วย ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งช่องปาก มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
.
นอกจากหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งแล้ว ก็ควรดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการปรับพฤติกรรม เช่น เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินเอและวิตามินอีสูง เน้นอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ใช้วิธีนึ่ง อบ ลวก ต้ม แทนทอดหรือย่าง เลือกวัตถุดิบที่สด สะอาด นอกจากนี้ก็หมั่นออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้คำว่า “มะเร็ง” ก็จะห่างไกลจากชีวิตคุณมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ
.
#อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ #Health #มะเร็ง #อาหารแปรรูป #อาหารปิ้งย่าง

ติดต่อเรา