อาการท้องอืด อึดอัดแน่นท้องหลังทานอาหาร เป็นอาการที่สร้างความทรมานให้แก่คนที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่มีอาการเรื้อรังมานานหลายปี ในคนปกติ จะมีอาการท้องอืดหลังจากกินอาหารเผ็ด เปรี้ยว มีกรดเกิน หรือทานอาหารมากเกินไป แต่สำหรับบางคนที่มีโรคประจำตัวเช่น กรดไหลย้อน มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือมีน้ำย่อยน้อยเกินไป จะเกิดอาการท้องอืดทุกครั้ง ไม่ว่าจะทานอาหารมากหรือน้อย และใช้เวลารักษายาวนานเป็นปีๆ
อาการท้องอืดเรื้อรัง นอกจากจะรบกวนชีวิตประจำวันแล้ว ยังบ่งชี้ถึงอันตรายที่คาดไม่ถึง นั่นคือโรคมะเร็งรังไข่ นั่นเพราะมีความเชื่อมโยงกันระหว่างโรคมะเร็งรังไข่ กับอาการท้องบวม เมื่อท้องของคุณมีลักษณะอิ่ม บวม หรือแข็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้คุณรู้สึกถึงความอึดอัดแน่นท้องตลอดแม้ยังไม่ได้รับประทานอะไรเข้าไปก็ตาม
ทำไมมะเร็งรังไข่ถึงทำให้มีอาการท้องอืด
เมื่อคนเราเป็นมะเร็งรังไข่ จะมีการสร้างของเหลวขึ้นในช่องท้องและไม่สามารถระบายออกได้ตามปกติ และเมื่อเซลส์มะเร็งแพร่กระจายไปตามเยื่อบุผนังช่องท้องก็จะเริ่มรบกวนการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
อาการอื่นๆของมะเร็งรังไข่
1.ปวดบริเวณเชิงกรานหรือช่องท้อง
2.ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะติดๆขัดๆ
3.เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย
4.มีอาการปวดท้อง
5.มีอาการท้องผูก
6.รู้สึกเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
7.ประจำเดือนมาผิดปกติ มามากเกินไป หรือมาไม่สม่ำเสมอ
8.น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
9. รู้สึกไม่อยากอาหาร เพราะทานอาหารแล้วอาหารไม่ย่อย ทำให้รับประทานน้อยลงมาก ทั้งที่รู้สึกหิวก็ตาม
10. มีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนบ่อยๆโดยไม่ทราบสาเหตุ
11. มีอาการท้องบวม
การที่คนเรามี ‘หน้าทองบวม’ เกิดจากอะไร
1. มีแก๊สสะสมในช่องท้อง
2. มีอาการท้องผูก
3. เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (ibs) ทำให้เกิดอาการท้องอืด และถ่ายเหลวบ่อย
4. เป็นช่วงที่มีประจำเดือน
5. การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง
6. เกิดจากการสะสมของไขมัน
7. เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
8. ดื่มน้ำอัดลม โซดา หรืออาการที่มีแก๊สในปริมาณมาก
9. รับประทานอาหารประเภท ข้าวสาลี นม หัวหอม กระเทียม แอปเปิ้ล กะหล่ำ และอื่นๆ มากเกินไป
เมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบแพทย์
1.มีอาการท้องอืดนานเกินสามสัปดาห์
2.อาการท้องอืดไม่มีแนวโน้มว่าจะหายแต่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
3.มีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
4.มีอาการท้องบวม หน้าท้องแข็ง คั่งด้วยของเหลว
การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค มีดังนี้
1.เบื้องต้นแพทย์จะกดทดสอบที่บริเวณหน้าท้องที่บวมเพื่อดูว่าเป็นของเหลวชนิดใด
2.ตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อมะเร็ง
3.ใช้การอัตราซาวน์ MRI หรือ CT SCAN ในช่องท้อง
4. ใช้กล้องส่องดูภายในลำไส้ใหญ่ โดยสอดกล้องเข้าทางทวารหนัก
5. ใช้การส่องกล้องดูจากส่วนบนของกระเพราะอาหาร โดยสอดกล้องเข้าทางเดินอาหารส่วนบน
6. เช็คตัวอย่างอุจจาระ
4. มีการทดสอบอื่นๆด้วยเทคโนโลยี และเทคนิคพิเศษของแพทย์ ตามโรงพยาบาลนั้น
การรักษาอาการท้องอืดเบื้องต้น
1.ทานยาประเภทคาร์บอน หรือถ่านกัมมันต์จะช่วยลดก๊าสในทางเดินอาหารและทำให้รู้สึกสบายท้องขึ้น
2.ทานยาประเภท Pepto-Bismol เป็นยาที่ใช้รักษาอาการท้องร่วงและอาการที่เกี่ยวข้องกับอาหารไม่ย่อย
การรักษาโรคมะเร็งรังไข่
1.รักษาด้วยเคมีบำบัด
2.ใช้หัตถการเพื่อดูดและระบายของเหลวบางส่วนออกจากช่องท้อง
คนโดยส่วนใหญ่มักรู้สึกว่าท้องอืดเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่อันตราย จึงไม่ยอมไปพบแพทย์ทั้งที่จริงแล้วอาการท้องอืดเรืัอรังอาจหมายถึงการเป็นมะเร็งรังไข่ได้ ดังนั้นหากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการท้องบวม ท้องอืดอยู่แทบตลอดเวลา เป็นเวลานาน แม้ในตอนที่ยังไม่ได้ทานอาหาร หรือไม่ใช่ในช่วงเวลาที่เป็นประจำเดือน ในระยะเวลานานเกินสามสัปดาห์ สิ่งที่ต้องทำคือ ควรไปตรวจร่างกายเพื่อเช็คว่าคุณเข้าข่ายจะเป็นโรคมะเร็งรังไข่หรือไม่ เพราะการตรวจพบโรคมะเร็งรังไข่ในระยะเบื้องต้น จะทำให้มีอัตราการรักษาหายเพิ่มขึ้น มากกว่าปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
Facebook Page: อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
Youtube : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
IG : dr.cant.help
LINE : Add เป็นเพื่อนผ่าน QR Code หรือค้นหา @bluphama
สามารถมาพูดคุยกับสมาชิก และคุณหมอได้ในกลุ่มเฟซบุ้คของเราได้เลยค่ะ
Group by อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ