ตับเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในท้องด้านขวาบน มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น
- นำสารอาหารจากการย่อยอาหารมาให้ร่างกายเราใช้งานได้ เช่น สร้างโปรตีนอันบูมิน (โปรตีนไข่ขาว) ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- สะสมอาหาร เช่น เก็บกลูโคสในรูปของไกลโคเจน ไว้เป็นพลังงานสำรอง
- ควบคุมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- กำจัดสารเคมีหรือสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย
ตับของคนเรามีไขมันอยู่ในเซลล์ตับได้บ้างเล็กน้อย แต่หากมีไขมันเกิน 5% ถือว่าเป็นภาวะไขมันแทรกตับ หรือที่เรียกว่าไขมันเกาะตับ ไขมันพอกตับ
ไขมันแทรกตับอาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งเป็นภาวะไขมันแทรกตับที่ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ (non alcoholic fatty liver disease – NAFLD) แต่ถ้าไม่มีการตรวจพบและรักษาในเบื้องต้น และทิ้งไว้นานๆ จนมีการอักเสบเกิดขึ้นในตับ จะเรียกว่าโรคตับอักเสบจากไขมันแทรกตับ (nonalcoholic steatohepatitis – NASH) ทำให้ตับมีความเสียหาย กลายเป็นตับแข็ง ตับวาย หรือมะเร็งตับได้
สาเหตุของภาวะไขมันแทรกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
มีสาเหตุมาจากโรคอ้วน มีไขมันหน้าท้องมาก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรับประทานอาการที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป หรือภาวะลำไส้รั่ว (leaky gut)
ภาวะไขมันแทรกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ ในระยะเริ่มต้นจะยังไม่ทำลายตับมากนัก ตับสามารถคืนสภาพเดิมได้ แต่โดยทั่วไปจะไม่แสดงอาการในเบื้องต้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆ ได้ด้วย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคไต
ไขมันแทรกตับ มีอาการเบื้องต้นบ้างไหม?
นบางคนจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดท้องตรงกลางหรือด้านขวา มีการเพิ่มขึ้นของค่าเอนไซม์ตับ AST และ ALT ระดับอินซูลิน และค่าไตรกลีเซอไรด์ แต่ในบางคนอาจไม่มีอาการใดๆ เลย ดังนั้นอาจตรวจพบเบื้องต้นได้ด้วยการเจาะเลือด
แต่หากตับมีอาการอักเสบแล้ว จะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องปานกลางถึงมาก ตาเหลืองและตัวเหลือง
มีภาวะไขมันแทรกตับแล้ว ทำอย่างไรดี?
ตับของคนเราสามารถซ่อมแซมตัวเองขึ้นมาได้ แต่ต้องใช้เวลา และเจ้าของตับต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ลดน้ำหนัก ลดการบริโภคน้ำตาลและแป้ง โดยเฉพาะแป้งขัดขาว
- 16% ของไขมันที่แทรกในตับนั้นมาจากไขมันที่รับประทานเข้าไป
- 26% เป็นคาร์โบไฮเดรตส่วนเกินที่เปลี่ยนสภาพเป็นไขมัน และมาจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตสสูง
รูปแบบการรับประทานอาหารที่มีแป้งขัดขาวน้อย เช่น low-carb diet, Mediterranean diet หรือ low-glycemic index diet สามารถคืนสภาพตับจากภาวะไขมันแทรกตับได้
อาหารที่ช่วยในการจำกัดไขมันแทรกตับ
- อาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้จากน้ำมันมะกอก อโวคาโด ถั่ว
- เวย์โปรตีน มีการศึกษาในผู้หญิงอ้วนว่าสามารถลดไขมันในตับได้ถึง 20% และอาจช่วยลดค่าเอนไซม์ตับได้
- ชาเขียว สารต้านอนุมูลอิสระชื่อ catechins ที่พบในชาเขียว สามารถช่วยลดไขมันแลอาการอักเสบของภาวะไขมันแทรกตับได้
- ผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) เช่น เคล คะน้า ผักโขม บร็อคโคลี่ และผักอื่นๆ เช่น กระเทียม ขมิ้นชัน
- กรดไขมัน omega-3 พบได้มากในปลาที่มีไขมันมาก ช่วยลดไขมันในตับ ไขมันที่เกาะรอบไ หัวใจ และไขมันช่องท้องได้
การจะลดไขมันแทรกตับนั้น เราจะต้องหยุดการกระทำที่ทำลายตับ เช่น การกินอาหารที่ส่งผลเสียต่อตับที่กล่าวไว้ข้างต้น การดื่มแอลกอฮอล์ ลดและงดยาบางชนิดที่ส่งผลเสียต่อตับ สำหรับคนที่ติดการดื่มแอลกอฮอล์ อาจทดลองดื่ม kombucha แทน เนื่องจากมีแอลกอฮอล์เล็กน้อย แต่ยังมี probiotics และได้คุณประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระในใบชา
การออกกำลังกายก็ช่วยลดไขมันแทรกตับได้
การออกกำลังกายแบบ endurance (แบบเน้นความอึด) หรือ resistance training (แบบใช้แรงต้าน) หลายครั้งต่อสัปดาห์จะสามารถลดไขมันที่เก็บไว้ในเซลล์ตับได้ แม้ว่าน้ำหนักจะไม่ได้ลดลงก็ตาม
มีการศึกษาให้ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนจำนวน 18 คน ทำการออกกำลังกาย 30-60 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน ค้นพบว่า ไขมันในตับลดลงไปถึง 10%
การออกกำลังกายแบบ HIIT
(High-intensity interval training) ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบหนักช่วงสั้นๆ สลับกับการออกกำลังกายเบาๆ ก็ส่งผลดีต่อภาวะไขมันแทรกตับ โดยมีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 28 คน ให้ออกกำลังกายแบบ HIIT ต่อเนื่องกัน 12 สัปดาห์ สามารถลดไขมันในตับได้มากถึง 39%
ในคนที่ไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆ ได้ การออกกำลังในระดับเบาก็สามารถลดไขมันในตับได้ จากการศึกษาในประเทศอิตาลี ผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 22 คน ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 1 ปี สามารถลดไขมันในตับและไขมันหน้าท้องได้ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะออกกำลังกายหนักหรือเบา ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หากเรามีภาวะไขมันแทรกตับในระยะเริ่มต้น เราสามารถคืนสภาพให้ตับได้ไม่ยาก ดังนั้นควรใส่ใจตรวจสุขภาพตามระยะเวลา รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถชุบชีวิตใหม่ให้ตับของเราได้
https://www.healthline.com/nutrition/fatty-liver
https://www.healthline.com/nutrition/8-benefits-of-kombucha-tea
บทความที่คุณอาจสนใจในคลังความรู้ของเรา:
กินเบคอนยังไงให้สลายไขมัน!
Egg Fasting
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
Facebook Page: อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
Youtube : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
IG : dr.cant.help
LINE : Add เป็นเพื่อนผ่าน QR Code หรือค้นหา @bluphama
สามารถมาพูดคุยกับสมาชิก และคุณหมอได้ในกลุ่มเฟซบุ้คของเราได้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/groups/1131079083894264/