ฉลาดขึ้นได้ด้วยการนอน

เมื่อเวลาเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด หลายๆคนมีความเชื่อว่าถ้าขยันมากพอก็จะสามารถประสบความสำเร็จเร็วขึ้นได้  จนหลายๆครั้งเวลาก็ยอมเอาเวลาไปแลกกับความสำเร็จ ยอมนอนน้อยลง เพื่อที่จะมีเวลาเพิ่มขึ้น แล้วสำเร็จมากขึ้น  หารู้ไม่ว่าการนอนมีผลอย่างมากต่อสมองของเราซึ่งส่งผลต่อproductivity ของเราอีกด้วย

การนอนมีผลอย่างไรกับสมอง?

ปกติแล้วคนเรามักลืมสิ่งที่เพิ่งเรียนรู้ใหม่ได้ไวมาก โดยเราสามารถลืมเรื่องราวใหม่ๆได้มากถึง 40%  ภายใน 20 นาทีแรก แต่กระบวนการนี้จะถูกแก้ไขได้ด้วยกระบวนการจดจำของสมองซึ่งจะเกิดขึ้นในตอนนอน 

  กระบวนการจำของเรานั้นเริ่มจากที่เรารับข้อมูลใหม่ๆเข้ามา ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปเก็บในสมองส่วนความจำระยะสั้นก่อน หลังจากนั้นเพื่อให้สามารถจดจำได้ดีขึ้นสมองต้องมีถ่ายโอนข้อมูลจากระบบความจำระยะสั้น ไปยังระบบความจำระยะยาว ซึ่งกระบวนเปลี่ยนนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยสมองที่ชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) 

         เจ้า ฮิปโปแคมปัส นี้จะช่วยสร้างระบบความจำระยะยาว มันมีหน้าที่สร้างเครื่อข่ายเส้นใยประสาท  ที่ช่วยให้ความจำระยะสั้นถูกส่งไปเก็บที่ระบบความจำระยะยาวได้ดีขึ้น  

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่พบว่าช่วงที่เรานอนคลื่นสมองจะมีการเคลื่อนไปมาระหว่างแกนสมองฮิปโปแคมปัส สมองส่วนธาลามัส และผิวสมอง  ซึ่งเจ้าฮิปโปแคมปัสนี้จะส่งกระแสข้อมูลไปยังระบบความจำระยะยาวได้ดีในช่วงที่เรานอน การนอนจึงมีความสำคัญต่อระบบการจำของเรามาก

ระยะการนอนกับความจำ

ปกติแล้ววงจรการนอนของเราจะแบ่งออกเป็น  4 ช่วง ได้แก่ ช่วงตื่น หลับตื้น หลับลึก และช่วงหลับฝัน วนๆไปแบบนี้ 5-6 รอบตลอดการนอนของเรา โดยช่วงที่เราหลับลึกสุดจะมี 2 ช่วงนั้นคือ ช่วงหลับลึก (slow-wave sleep)   และช่วงหลับฝัน (REM sleep)  2 ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีงานวิจัยพบว่ากระบวนการจดจำจะเกิดขึ้น แถมแต่ละช่วงยังมีผลกับประเภทความจำที่แตกต่างกันอีกโดย

  1. ช่วงหลับลึก (slow-wave sleep)  จะเกิดหลังนอนหลับประมาณ 60 นาที หากเรานอนถึงช่วงนี้ สมองที่ทำการบันทึกความจำประเภทความจำชัดแจ้ง (Explicit memory)ซึ่งทำหน้าที่จดจำ ความรู้ต่างๆ การอ่านหนังสือ  หรือเหตุการณ์บางอย่างในอดีต เช่นการไปเที่ยวต่างประเทศตอนเด็กๆ 
  2. ช่วงหลับฝัน (REM sleep)   จะเกิดหลังนอนหลับประมาณ 90 นาที  การนอนถึงช่วงนี้พบว่าสมองจะบันทึกความจำประเภทฝึกปฏิบัติ (Procedural memory) ซึ่งมีหน้าที่จดจำทักษะบางอย่างที่เกิดจากร่างกายทำซ้ำๆ เช่นการเล่นดนตรี หรือ การเล่นกีฬา 

ในปัจจุบันนี้มีสิ่งรบกวนต่างๆ ที่ทำให้การนอนของเรามีคุณภาพที่แย่ลง ทั้งแสงจากโทรศัพท์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่อยู่ในห้องนอนของเรา สิ่งเหล่านี้จะรบกวนการนอนของเรา ทำให้เรานอนไม่สนิท นอนไม่พอ และในบางคนที่มีปัญหาในการนอน ทั้งนอนหลับยาก นอนแล้วก็สะดุ้งตื่นกลางดึกบ่อยครั้ง แนะนำให้ทานเมลาโทนินก่อนนอน เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ ซึ่งการกินเมลาโทนินก็จะทำให้การนอนเราดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น เมื่อหลับสนิทก็จะมีการผลิตเมลาโทนินออกมาจำนวนมากยิ่งทำให้ฮอร์โมนอื่นๆ ออกมาด้วย เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นฮอร์โมนเพศที่ทำหน้าที่ซ่อมแซมร่างกาย และยังสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทในสมอง ป้องกันเซลล์สมองตายและเซลล์สมองเสื่อม และนอนดีทำให้ภูมิดีขึ้นอีกด้วย

ดังนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมหันมาใส่ใจเรื่องการนอนให้มากขึ้น  ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้เวลาสมองได้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ได้ และไม่ควรอ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ เพราะนอกจากจะทำให้จำได้น้อยแล้ว ยังเสียสุขภาพอีกด้วย

ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
Facebook Page: อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
Youtube : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
IG : dr.cant.help
LINE : Add เป็นเพื่อนผ่าน QR Code หรือค้นหา @bluphama

สามารถมาพูดคุยกับสมาชิก และคุณหมอได้ในกลุ่มเฟซบุ้คของเราได้เลยค่ะ
Group by อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ

ติดต่อเรา