เหน็ดเหนื่อยพักเท่าไรก็ไม่หาย หรือคุณกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ . คุณกำลังมีอาการรู้สึ…

เหน็ดเหนื่อยพักเท่าไรก็ไม่หาย หรือคุณกำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ
.
คุณกำลังมีอาการรู้สึกว่าร่างกายหนัก ๆ ล้า ๆ กระตือรือร้นน้อยลงอยู่หรือไม่? หากคุณมีอาการเหล่านี้ แม้จะพักผ่อนเท่าไหร่ก็ไม่หาย นั่นอาจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะ “หมดไฟ”
จากบทความในปี 2021 ที่ตีพิมพ์ใน Time Magazine การสำรวจและรายงานล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีอาการหมดไฟมากกว่าผู้ชาย โดยมีผู้หญิง 42% และผู้ชาย 35% มีอาการรู้สึกเหนื่อยหน่ายและเหนื่อยล้า ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ขณะที่ 67% กล่าวว่ามีอาการเหนื่อยหน่ายเพิ่มขึ้นนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส

🔥สัญญาณของคนที่มีภาวะหมดไฟ
– รู้สึกเหนื่อยอยู่เสมอซึ่งอาจส่งผลให้มีแรงจูงใจในการทำงาน ออกกำลังกาย เข้าสังคมต่ำ
– หงุดหงิด ใจร้อน ถากถาง และวิจารณ์มากกว่าปกติ
– รู้สึกเหมือนไม่มีสมาธิหรือทำงานไม่ได้
– ไม่รู้สึกตื่นเต้นหรือพอใจกับสิ่งที่มักจะทำให้มีความสุข
– รู้สึกวิตกกังวล เหมือนขาดการควบคุมด้านที่สำคัญในชีวิต (เช่น งาน/ตารางเวลา)
– นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท
– ต้องใช้อาหาร ยา หรือแอลกอฮอล์เพื่อรับมือและพัฒนาอารมณ์
– มีอาการที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น ปวดหัวตึงเครียด ปวดท้อง หรือตึงเครียดของกล้ามเนื้อ
-ในบางคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เรื้อรัง เช่น นอนไม่หลับ ดื่มแอลกอฮอล์หรือการ ใช้สารเสพติด ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน และภูมิคุ้มกันบกพร่อง
.
🔥แก้ไขอาการหมดไฟได้อย่างไรดี ?
นี่คือเคล็ดลับในการป้องกันและรักษาอาการเหนื่อยหน่าย✅
.
1. จัดการกับเรื่องกังวลในที่ทำงาน
ปรับเปลี่ยนตารางการทำงานและสภาพแวดล้อมของตนก่อนให้ดีขึ้น
กำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในงานของคุณให้ชัดเจน
พิจารณาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นด้วยการทำงานจากที่บ้านหรือปรับเวลาทำงาน จากการวิจัยพบว่าสิ่งนี้มีความสำคัญสำหรับผู้ปกครองบางคนที่ยังทำงานอยู่ โดยเฉพาะผู้หญิง แต่บางคนยังประสบปัญหาในการปรับสมดุลชีวิตเมื่อทำงานจากที่บ้าน ดังนั้นให้เลือกวิธีที่เหมาะกับคุณ
.
2. จัดลำดับความสำคัญของการนอนหลับและการผ่อนคลาย
การนอนหลับให้สบายอาจเป็นเรื่องยาก หากคุณรู้สึกเครียด แต่การอดนอนจะทำให้อารมณ์และประสิทธิภาพการทำงานของคุณแย่ลง พยายามข้านอนในเวลาเดียวกันทุกคืน โดยตั้งเป้าการนอนหลับ 7-9 ชั่วโมง เพื่อให้คุณรู้สึกดีที่สุด การออกกำลังกายเป็นประจำ ก็เป็นการขจัดความเครียดและช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ลองออกแรงเดินในช่วงพักจากที่ทำงาน รับอากาศบริสุทธิ์และแสงแดด สำหรับผู้ที่รู้สึกเครียดการฝึกสติและการทำสมาธิก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้ โดยการทำจิตใจให้สงบ และให้ความสนใจกับช่วงเวลาปัจจุบัน
.
3. ขอความช่วยเหลือจากครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมงาน
ความรู้สึกโดดเดี่ยวเป็นความรู้สึกที่กดดันมากที่สุดที่ผู้คนต้องเผชิญ พยายามติดต่อเพื่อน เพื่อนร่วมงาน และครอบครัวเพื่อขอคำแนะนำ และความช่วยเหลือ หากคุณรู้สึกว่าตนเองอาจซึมเศร้าหรือมีความวิตกกังวลในระดับที่สูงกว่าปกติ ทางที่ดีควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
.
4. ทำ “Digital Detoxes” และหยุดการเปรียบเทียบ
เมื่อหมดเวลางานให้คุณออฟไลน์ ตัดการเชื่อมต่อทุกทาง และหันมาสนใจตัวเองให้มากขึ้น หาอะไรที่สนุกและผ่อนคลายทำ หลีกเลี่ยงการตอบอีเมลขณะอยู่ที่บ้านหรือในวันหยุด เนื่องจากเป็นเวลาพักสมองและเติมพลังให้กับตัวเอง พยายามออกไปรับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน
อีกสิ่งหนึ่งที่อาจเพิ่มความเครียดให้กับคุณก็คือการอยู่บนโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่องและเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เช่น คนที่ทำงานน้อย หรือทำเงินได้มากกว่าคุณ พยายามหยุดเปรียบเทียบตัวเอง และโฟกัสไปที่การพัฒนาอาชีพ ชีวิต และงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
.
5. อาหารเสริมเพิ่มพลัง
บางคนที่มีความเครียดสะสม จนทำให้เกิดความไม่อยากอาหารหรือทานได้น้อยลง ซึ่งความเหนื่อยล้าอาจเป็นผลมาจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรเสริมวิตามินที่เพิ่มความสดชื่นและพลังให้กับร่างกาย

✨ วิตามินซี (Vitamin C) ช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เราป่วยได้ยากขึ้นป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยสร้างคอลลาเจน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิวพรรณเปร่งปลั่ง

✨ วิตามินบี (Vitamin B) ทานแล้วจะสดชื่น ช่วยให้สมองแล่น ป้องกันสมองเสื่อม ลดความเครียด ป้องกันโรคซึมเศร้า

✨ น้ำมันปลา (Fish Oil) ช่วยบำรุงสมองและหัวใจ ลดการอักเสบของร่างกายและหลอดเลือด ป้องกันคอเลสเตอรอล ลดผลเสียเวลาทานของทอด

✨ เมลาโทนิน (Melatonin) ช่วยให้นอนดี หลับสนิทมากขึ้น ยิ่งนอนดีภูมิยิ่งดี ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
.
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึง สามารถสั่งซื้อได้ทาง
💬 Inbox: m.me/drcanthelp
✅ Line Shopping : https://lin.ee/tpmtgGI
หรือ
✅Line@ของคลีนิค https://lin.ee/piE9kvf
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา