7 สิ่งควรทำก่อนเริ่มกินยา ‘ลดความดันโลหิต’ ในคนที่เจอความดันสูงตั้งแต่อายุน้อย …

7 สิ่งควรทำก่อนเริ่มกินยา ‘ลดความดันโลหิต’

ในคนที่เจอความดันสูงตั้งแต่อายุน้อย เช่น เจอเมื่ออายุ 30 ปีกว่าๆ หรือ 20 ปีกว่าๆ แต่ตรวจเจอเป็นความดันแล้วควรตรวจเช็คให้ดีว่าทำไมถึงเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นได้ แล้วอย่าพึ่งรีบกินยาลดความดันในทันที ควรเช็คสาเหตุกันก่อน วันนี้เราจึงมีวิธีการตรวจเช็คสาเหตุของความดันโลหิตสูงมาฝากกันค่ะ

1. เช็คกรดยูริก คนที่เป็นความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุน้อยเกือบ 90% จะมียูริกสูง ซึ่งจริงๆ แล้วคนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ไม่ควรเป็นความดันโลหิต เพราะหลอดเลือดของคุณไม่ควรจะเสื่อมสภาพหรือพังขนาดจนเกิดเป็นความดันโลหิตสูงได้ แล้วหลายๆ คนมักคิดว่า ยูริกเป็นเรื่องของเก๊าท์ แต่จริงๆ แล้วยูริกเป็นสาเหตุสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงเลย ในคนที่อายุมาก แล้วเป็นความดันโลหิตสูงเกือบ 50% จะมียูริกสูง ซึ่งถ้าหากคุมยูริกได้ดี ความดันจะดีขึ้นด้วย เกณฑ์ที่ดี คือ ผู้ชายควรมีค่ายูริกต่ำกว่า 6 ส่วนผู้หญิงควรมีค่ายูริกต่ำกว่า 5
.
2. เช็คยาที่กินอยู่ ยาที่ทำให้ความดันสูงขึ้น คือ 1. ยาคุม 2. สเตียรอยด์ 3. ยาแก้ปวดบางชนิด การที่กินยาแก้ปวดเป็นครั้งคราวถือว่าไม่เป็นไร แต่ว่าหากกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นประจำนานๆ แล้วเกิดมีความดันสูง ต้องมีการเช็คดูว่าเป็นเพราะยาแก้ปวดหรือไม่?
.
3. ตรวจเช็คไทรอยด์ ไทรอยด์สูงหรือไทรอยด์เป็นพิษสามารถทำให้ความดันสูงขึ้นได้ โดยการตรวจไทรอยด์ให้ตรวจ 3 ค่านี้ 1. TSH 2. Free T3 3. Free T4 หากมีปัญหาไทรอยด์สูงอาจจะเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงได้
.
4. เช็ค Sleep Apnea ภาวะหยุดหายใจระหว่างนอน คนที่นอนกรนตอนกลางคืน หรือคนที่นอนแล้วตื่นมารู้สึกไม่สดชื่น แม้จะนอนจำนวนชั่วโมงที่เต็มอิ่มแล้ว ควรไปลองเช็คเรื่อง Sleep Test ดูได้ แล้วภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนเป็นต้นตอของโรคต่างๆ มากมาย แต่มีโรคหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ ความดันโลหิตสูง หากสามารถแก้ภาวะนี้ได้ความดันโลหิตสูงก็จะหายได้เช่นกัน
.
5. เช็คโรคไต ในคนอายุน้อยแล้วตรวจพบเจอเรื่องความดันโลหิตสูง ควรตรวจเช็คเกี่ยวกับโรคไตด้วย เพราะว่าโรคไตบางชนิดทำให้ความดันโลหิตสูง
.
6. เช็คความเครียด หรือการนอน ควรเช็คดูว่าตอนนั้นเครียดหรือไม่? อดนอนอยู่หรือเปล่า? เนื่องจากความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูง แล้วการอดนอนก็ทำให้ความดันสูงขึ้นได้ด้วย หากลองถามคนที่เป็นความดันโลหิตสูงหลายๆ คน แล้วมีการกินยาความดันอยู่ หากคืนไหนมีการอดนอนหรือนอนไม่พอ อีกวันหนึ่งความดันจะขึ้นเลย
.
7. อย่าคิดแต่จะเริ่มกินยาลดความดัน แต่ควรต้องปรับอาหารด้วย จริงๆ แล้วยาลดความดันโลหิตไม่ได้รักษาความดันโลหิต เพียงแค่ควบคุมระดับความดันเท่านั้นเอง ความดันโลหิตจะดีขึ้นได้ จะหายหรือรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของเรา นอนให้ดี จัดการความเครียด ปรับอาหาร
.
อย่างที่รู้กันว่า อย่ากินเค็มเพราะจะทำให้ความดันไม่ดี แต่ควรทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงจะดีกว่า เพราะโพแพสเซียจะช่วยให้ไตขับโซเดียมออกมาเยอะขึ้น หากกินอาหารที่โพแทสเซียมต่ำ ไตจะดูดซึมโซเดียมมากขึ้น ทำให้โซเดียมเหลืออยู่ในร่างกายมากขึ้นไปด้วย อีกอย่างคือโพแทสเชียมช่วยชะลอไตเสื่อมได้ด้วย ในคนที่เป็นไตเสื่อม ระยะ 3 ที่มีค่า Creatinine อยู่ในช่วง 30-60 การที่กินโพแทสเซียมจะช่วยชะลอไตเสื่อมได้ (ไม่แนะนำให้กินโพแทสเซียมในคนที่ต้องล้างไตแล้ว แต่ถ้ามีค่าการกรองของไต ค่า GFR สูงกว่า 30 สามารถกินโพแทสเซียมได้) อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง คือ ฝรั่ง มัน กล้วย ผักโขม สวิตชาร์ด อะโวคาโด
.
อาหารอีกกลุ่มที่แนะนำ คือ Magnesium อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง คือ ธัญพืชต่างๆ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน หรือพืชต่างๆ ที่ปลูกอยู่ในดิน หรือบางคนสะดวกทานเป็นอาหารเสริม แนะนำแมกนีเซียม ฟอร์ม Chelated Magnesium หากจะลดความดันลง วันหนึ่งต้องทานแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัม/วัน
.
อีกตัวหนึ่งที่ลดความดันได้ดี คือ Flaxseed โดยการเอามาใส่ในอาหาร ใส่ประมาณมื้อละ 1 ช้อนชา แต่หากอยากเพิ่มคุณค่ามากขึ้นให้เอาเมล็ดแฟล็กซ์ไปปั่น แล้วค่อยเอามาโรยบนอาหารจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า เพราะว่าถ้าไม่ปั่นแล้วกินเป็นเมล็ดเข้าไป เวลาขับถ่ายก็จะออกมาเป็นเม็ดๆ เหมือนเดิม ซึ่งจะไม่ดีเท่าไหร่ แนะนำควรนำปั่นก่อนจะดีกว่า
.
อีกตัวที่ช่วยได้ คือ Celery นอกจากจะช่วยลดความดันได้แล้ว ยังช่วยลดยูริกได้ด้วย เนื่องจากยูริกเป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง

หากเมื่อตรวจพบว่าเป็นความดัน อย่าพึ่งรีบร้อนที่จะกินยาลดความดันในทันที แต่ควรตรวจเช็คสาเหตุของความดันโลหิตก่อน แล้วลองปรับแก้ลดสาเหตุนั้น เพราะความดันโลหิตจะดีขึ้นได้อยู่ที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวเองด้วย อย่างไรก็ตามอย่าลืมตรวจเช็คความดันของตัวเองให้ดีกันนะคะ เพราะการห่างไกลโรคภัย คือ ของขวัญที่ดีที่สุดของสุขภาพ : )

ติดต่อเรา