9 ผลกระทบทาง ‘จิตใจ’ เมื่อเข้าสู่ ‘วัยทอง’ . เมื่ออายุมากขึ้นการสังเคราะห์ฮอร์โ…

9 ผลกระทบทาง ‘จิตใจ’ เมื่อเข้าสู่ ‘วัยทอง’
.
เมื่ออายุมากขึ้นการสังเคราะห์ฮอร์โมนในร่างกายก็จะน้อยลง แล้วเริ่มก้าวเข้าสู่ภาวะวัยทอง ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยผู้หญิงก็คือวัยที่เริ่มหมดประจำเดือน เมื่อหมดประจำเดือนแล้วจะทำให้ฮอร์โมนร่างกายไม่สมดุล ก่อเกิดปัญหาสุขภาพตามมาทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยวันนี้จะมาพูดถึง 9 ผลกระทบทาง ‘จิตใจ’ เมื่อเข้าสู่ ‘วัยทอง’ กันค่ะ
.
♦️ 1. อาการซึมเศร้า (Depressed) เป็นอาการอย่างหนึ่งของวัยทอง เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
♦️2. อารมณ์หงุดหงิด (Irritability) จะมีความหงุดหงิดที่มากกว่าปกติ บางทีตัวเราเองอาจไม่รู้สึกตัวแต่อาจสอบถามคนรอบข้างได้ว่า เรามีความหงุดหงิดมากกว่าเดิมหรือเปล่า?
♦️3. อารมณ์แปรปรวน (Mood Swing) จะมีอารมณ์เหวี่ยงวีน ขึ้นๆ ลงๆ คนรอบตัวตามอารมณ์ไม่ทัน
♦️4. อาการวิตกกังวล (Anxiety) จะมีความวิตกกังวลมากกว่าปกติ ซึ่ง Anxiety จัดเป็นโรคอย่างหนึ่งทางจิตเวช ที่เกิดจากวัยทองได้เช่นกัน
♦️5. อาการแพนิค (Panic Disorder) เป็นภาวะที่มีความกลัวและตื่นตระหนกมากเกินไป บางทีพอเราหมดประจำเดือนไปแล้วจะมีความกลัว ความวิตกกังวล ตื่นตระหนกเกิดขึ้น หากมีมากเกินขอบเขตจะกระทบต่อการใช้ชีวิตก็จะต้องมาดูแลฮอร์โมนและปรับเสริมฮอร์โมนกันต่อไป
♦️6. อาการมึนงง (Disorientation) เป็นภาวะสับสน สมองจะเบลอ ไม่สดชื่น คิดอะไรไม่ค่อยออก ภาวะเหล่านี้เกิดได้หากคุณอยู่ในวัยทอง
♦️7. อาการหลงลืม สมองทำงานแย่ลง เวลาที่เป็นวัยทองจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ถ้าเรายังมีฮอร์โมนดีหรือมีประจำเดือนปกติ โอกาสเกิดอัลไซเมอร์แทบจะไม่เกิดขึ้น อาการนี้จะเริ่มจากการขี้ลืมก่อน สมองจดจำได้ไม่ดี ถ้าปล่อยให้เป็นไปเรื่อยๆ ไม่รีบดูแลหรือรักษา โรคอัลไซเมอร์ก็จะอยู่ไม่ไกลตัว
♦️8. สมาธิแย่ลง สมาธิในการทำงาน การจดจ่อแย่ลง เวลาที่โฟกัสเรื่องการทำงานจะทำได้ยากขึ้น มีสมาธิที่สั้นลง ทำงานไม่รู้เรื่อง
♦️9. การนอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือคุณภาพการนอนไม่ดี นอนได้ไม่ยาวหรือนอนได้ไม่ต่อเนื่อง บางทีตื่นมากลางดึกก็มี ซึ่งการนอนที่ไม่ดีสัมพันธ์กับภาวะวัยทอง อีกส่วนหนึ่ง คือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘เมลาโทนิน’ เพราะเมื่อที่เราอายุเพิ่มมากขึ้นต่อมไพเนียลแกรนด์ของเราจะฝ่อหรือเหี่ยวลง ก็จะทำให้หลั่งเมลาโทนินที่เป็นฮอร์โมนของการนอนหลับหลั่งออกมาได้ไม่ดี การนอนเลยไม่ดี แล้วมาประจวบกับการที่มีภาวะวัยทองร่วมด้วยแล้วจึงทำให้เกิดการนอนไม่หลับ นอนหลับยากร่วมด้วยนั่นเอง
.
จากอาการข้างต้นที่เป็นผลกระทบทางด้านจิตใจของการก้าวเข้าสู่วัยทอง อาการเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเสริมฮอร์โมนเข้าไป ควรใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนกับฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนร่วมด้วยกัน เพราะในร่างกายของผู้หญิงจะมีฮอร์โมนหลัก 2 ตัวนี้ที่เป็นตัวช่วยดูแลเรื่องสุขภาพร่างกายของเพศหญิง จะขาดฮอร์โมนอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดฮอร์โมนไม่สมดุล และโรคต่างๆ ตามมาได้
.
การเป็นวัยทองผู้หญิงทุกคนอาจพบเจอกันได้ บางคนอาจมีอาการน้อยหรือมากแตกต่างกันไป แต่ก็คงไม่มีใครที่จะอยู่กับอาการวัยทองด้วยความสุข การปรับฮอร์โมนให้สมดุล ดูแลฮอร์โมนให้ดีจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากมีการดูแลฮอร์โมนให้ดีอยู่เสมอ อาการที่น่ารำคาญต่างๆ ของวัยทองนั้นก็จะเริ่มลดลง และหากดูแลฮอร์โมนดีอยู่เรื่อยๆ อาการวัยทองเหล่านั้นที่รบกวนการใช้ชีวิตของเราก็จะเริ่มบรรเทาลงและปรับอาการวัยทองให้ดีขึ้นได้ ยังไงก็อย่าลืมดูแลฮอร์โมนของตัวเองให้ดีเพื่อความสุขของชีวิตในวัยทองกันนะคะ : )

ติดต่อเรา