ฮอร์โมนความเครียดสำคัญที่สุดของร่างกาย

ต่อมหมวกไตเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนความเครียดหรือเรียกอีกอย่างว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอล หากต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนความเครียดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายแน่ แต่ฮอร์โมนความเครียดก็ยังเป็นฮอร์โมนที่สำคัญที่สุดของร่างกายอยู่ดี แล้วเพราะอะไรฮอร์โมนความเครียดถึงสำคัญต่อร่างกาย วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

บูสต์น้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต

หากย้อนไปในสมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสัตว์ดุร้าย ต้องมีการหลบหนีและต่อสู้กันอยู่ตลอด เมื่อต้องสู้หรือหลบหนีสัตว์ดุร้าย เราต้องใช้ทั้งกล้ามเนื้อและสมองในการหาวิธีเอาตัวรอด ร่างกายของเราจึงจำเป็นต้องใช้น้ำตาลมากขึ้น เพื่อให้น้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ให้เรามีพลังเพิ่มมากขึ้น และเจ้าตัวฮอร์โมนความเครียดนี่แหละค่ะ ที่เป็นตัวช่วยสำคัญในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด แต่การที่น้ำตาลจะไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ก็ต้องอาศัยความดันโลหิต เจ้าตัวฮอร์โมนความเครียดนี้ ก็ยังช่วยเพิ่มกำลังให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย

สร้างภูมิคุ้มกัน

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปความเครียดที่เราต้องเผชิญก็เปลี่ยนตาม เราไม่จำเป็นต้องไปต่อสู้กับสัตว์ดุร้ายอีก ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วความเครียดมีอยู่ 2 ประเภท คือ ความเครียดทางใจ ไม่ว่าจะเป็นมีปัญหาเรื่องงาน เรื่องเงิน หรือทะเลาะกับแฟน ก็นับเป็นความเครียดทางใจทั้งนั้น ส่วนความเครียดทางกาย ข้อนี้คนมักไม่ค่อยรู้ว่ากำลังสร้างความเครียดให้กับตัวเองอยู่ อย่างเช่น การนอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่มีประโยชน์ หรือแม้กระทั่งการปวดฟัน การอักเสบก็ถือเป็นความเครียดทางกายเช่นกัน หากเราสะสมพฤติกรรมที่สร้างความเครียดให้กับร่างกายไปนาน ๆ ภูมิคุ้มกันของเราก็จะพร่อง ทำให้ป่วยง่าย เป็นหวัดบ่อย หรืออาจมีอาการคันตามผิวหนัง เป็นลมพิษ และผื่นขึ้นได้ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเช็กอาการทันที

การตรวจเช็กฮอร์โมน

สิ่งที่คุณหมอจะทำการตรวจเช็กร่างกายของเราคือ ตรวจเช็กฮอร์โมนคอร์ติซอลว่ายังหลั่งได้ไหม หลั่งมากหรือน้อยไป และอีกตัวหนึ่งที่คุณหมอจะตรวจเช็กคือ ฮอร์โมน DHEA เป็นฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่ง หรือเรียกได้ว่าเป็นฮอร์โมนสำรองของความเครียดเพราะเป็นฮอร์โมนที่ต้านความเครียด หากฮอร์โมนสำรองเริ่มพร่องไปแสดงว่าอยู่ในภาวะเครียดที่ไม่ปกติ

ความเครียดนอกจากจะส่งผลให้ร่างกายภายนอกของเราดูแก่ และเสื่อมโทรมแล้ว แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อต่อมหมวกไตอีกด้วย เพราะเมื่อเราใช้งานต่อมหมวกไตมากเกินไป ก็ทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย มีอาการอยากทานหวาน ทานเค็มมากขึ้น และปัสสาวะบ่อยเป็นสีใส และอาจส่งผลไปถึงฮอร์โมนเพศ ที่เห็นได้ชัดในผู้หญิงคือ ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกตินั่นเอง

การรักษาสุขภาพเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้เราไม่ตกอยู่ในภาวะเครียด ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีประโยชน์ แลพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ต่อมหมวกไตแข็งแรงและทำงานได้ปกติ อีกเรื่องหนึ่งที่อยากแนะนำคือ สำหรับคนที่มีภาวะเครียดแล้วกำลังทำ Intermittent Fasting (IF) เนื่องจากการทำ IF ถือเป็นการสร้างความเครียดอย่างหนึ่ง แนะนำว่าควรอดอาหารได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เป็นการทำร้ายต่อมหมวกไตมากเกินไป

บทความที่คุณอาจสนใจในคลังความรู้ของเรา:
มารู้จักภัยร้ายของโรคไมเกรนกันเถอะ

ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
Facebook Page: อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
Youtube : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
IG : dr.cant.help
LINE : Add เป็นเพื่อนผ่าน QR Code หรือค้นหา @bluphama

สามารถมาพูดคุยกับสมาชิก และคุณหมอได้ในกลุ่มเฟซบุ้คของเราได้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/groups/1131079083894264/

ติดต่อเรา