คีโต ปลอดภัยไหมในระยะยาว ❓

“ทำคีโต จะเป็นอันตรายตอนแก่ไหมคะ?” “กินคีโตทำให้เป็นนิ่วมั้ยคะ?” 

เป็นความกังวลของหลายๆ คน ที่กำลังจะลดน้ำหนักด้วยวิธีการทำคีโต (Ketogenic diet) ต่างกลัว เพราะนอกจากจะมีรีวิวความดีงามของการทำคีโตอย่างหนาหูหนาตา แต่ข้อโต้แย้งเรื่องอันตรายในระยะยาวก็มีไม่น้อยหน้าเช่นกัน วันนี้เรามาไขความลับกันค่ะ ว่าจริงๆ แล้วทำคีโตปลอดภัยหรือไม่ 

คีโตจีนิก ไดเอท คือการลดน้ำหนักด้วยการควบคุมสัดส่วนอาหาร  โดยการกินคาร์บ(คารคาร์โบไฮเดรต) หรือแป้งในระดับที่ต่ำมากๆ เพียง 20-50 กรัม หรือเพียง 5% ต่อวัน แถมคาร์บที่ว่าต้องมาจากอาหารที่กำหนดเท่านั้น ส่วนอาหารประเภทไขมันให้กิน 75% และโปรตีน 20% ต่อวัน การทานสัดส่วนอาหารแบบนี้ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแหล่งพลังงานที่ร่างกายจะใช้จากที่ใช้พลังงานจากน้ำตาล เป็นพลังงานที่มาจากไขมัน เรียกว่าภาวะคีโตซิส (ketosis) ซึ่งก่อพิษต่อร่างกายน้อยกว่าและเป็นผลดีกับสมอง 

 ทีนี้เรามาพูดถึงข่าวลือที่ทำให้หลายคนกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเริ่มทำคีโตอย่างจริงจังกันค่ะ 

 กินคีโตทำให้กล้ามเนื้อหาย?

ความเป็นจริงแล้ว การกินคีโตจะช่วยเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนส์ (growth hormonse) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ  เนื่องจากคีโตนช่วยยับยั่งอินซูลินที่เป็นศัตรูกับกล้ามเนื้อนั่นเอง ดังนั้น นอกจากคีโตจะเป็นผลดีกับคนลดน้ำหนัก ยังเป็นประโยชน์กับคนเล่นกล้ามอีกด้วย 

กินคีโตทำให้เกิดภาวะร่างกายเป็นกรด (ketoacidpsis) หรือภาวะฉุกเฉินเนื่องจากขาดอินซูลิน?

ความจริงแล้วภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 แต่ถ้าหากคุณไม่ได้เป็นโรคเบาหวานแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องกังวล ดังนั้น หากใครจะทำคีโตแนะนำให้ไปตรวจร่างกายหรือปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ

 กินคีโตแล้วทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร?

ความจริงแล้วการกินคีโตไม่ได้ทำให้ขาดสารอาหาร แต่ข่าวลือนี้เกิดจากคนที่เคยกินคีโตแต่กินผิดวิธี เช่น กินผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ทานเกลือแร่น้อยเกินไป กินไขมันผิดประเภท หรือกินผิดสัดส่วน ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่พอ ไม่ได้เกี่ยวกับการทานคีโตแต่อย่างใด หากทานคีโตอย่างถูกวิธี รับรองว่าไม่เกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาแน่นอน

 พลังงานจากไขมันสกปรกกว่าพลังงานจากน้ำตาล?

จริงๆแล้ว ตรงกันข้ามเลยค่ะ โรคร้ายต่างๆ อย่าง โรคหัวใจ อัลไซเมอร์ มะเร็ง เส้นเลือดในสมองแตก ล้วนมีสาเหตุมาจากการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป ประวัติศาสตร์น้ำตาลเพิ่งจะมีมาไม่ถึงพันปีนี้เองค่ะ ก่อนหน้านี้คนเราได้ความหวานจากน้ำผึ้งและน้ำอ้อย ส่วนแป้งที่ร่างกายบริโภคล้วนมาจากพืช ปัจจุบันเราทานน้ำตาลมากกว่าที่เคยและมากกว่าที่ควร มีข้อเท็จจริงหลายข้อที่ทำให้เห็นว่า ไขมัน เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการมากกว่าน้ำตาล เช่น เซลล์ประสาท ฮอร์โมนส์และสมอง ล้วนแต่ต้องการไขมัน ว่าง่ายๆ คือเราขาดไม่ได้ ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตไม่ได้เป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย อีกข้อคือ เวลาเราทานน้ำตาล กราฟระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นๆ ลงๆ และสมองเกลียดสิ่งนี้ค่ะ เป็นเหตุผลว่าเวลาทานคีโต เราจะสามารถจดจ่อกับการทำงานได้ดีขึ้นด้วย

กินคีโตแล้วเป็นนิ่ว?

นิ่วส่วนใหญ่ มักเกิดจากแคลเซียมรวมกับกรดออกซาลิก (Oxalic acid) จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กรดออกซาลิกสูง เช่น ผักโขม มะเขือ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำ ยอดผักทั้งหลาย ถั่วรูปไต เป็นต้น  ดร. อีริก เบิร์ก ผู้เชียวชาญด้านคีโตจีนิก มีข้อแนะนำให้ดื่มน้ำมะนาวคั้นสด ซึ่งมีสรรพคุณช่วยสลายนิ่วได้

กินคีโตแล้วอันตรายในระยะยาว?

ข้อนี้มีงานวิจัยของสถาบัน Johns Hopkins มารองรับค่ะ งานวิจัยว่าด้วยการติดตามเด็กๆ ที่มีอาการลมบ้าหมู และแพทย์รักษาด้วยวิธีการทำคีโต เป็นระยะเวลา 8 เดือน ถึง 14 ปี และบางคนรักษาด้วยการกินคีโตนานถึง 8 ปี และทุกคนไม่มีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นกับร่างกาย นอกจากนี้ยังมีผู้คนอีกมากที่กินคีโตกว่ายี่สิบปีและยังคงสุขภาพดีแม่จะอายุเกินเลขห้าไปแล้ว อย่าง Stephanie Person เพราะฉะนั้นการกินคีโต จึงไม่อันตรายกับร่างกายในระยะยาวแน่นอนค่ะ

 ปากเหม็น อ่อนเพลีย เวียนหัว เป็นสัญญาณอันตรายรึเปล่า? 

อาการเหล่านี้เรียกว่า “หวัดคีโต” เป็นอาการในช่วงแรกเท่านั้นค่ะ เมื่อทำไปสักพักจะหายค่ะ เนื่องจากร่างกายยังอยู่ในช่วงปรับตัว มันยังงงๆ อยู่ว่าน้ำตาลที่เคยกินอยู่ทุกวันหายไปไหน ทั้งนี้ อาการหวัดคีโตของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน หรือบางคนก็อาจจะไม่เป็นก็ได้ค่ะ  การเติมเกลือแร่และดื่มน้ำมากๆ จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ลงได้

 สิ่งสำคัญคือหากคิดจะทานคีโตแล้ว ต้องมีจิตใจแน่วแน่และเลือกทานอาหารอย่างถูกวิธี ถูกสัดส่วนและถูกประเภท อย่างที่เห็นค่ะ ข้อเสียทั้งหลายที่เราได้ยินกันมานั้น มาจากการทานคีโตแบบผิดๆ หากใครไม่มั่นใจ ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ก่อนว่าร่างกายอย่างเราทำคีโตได้หรือไม่ ถ้าชัวร์แล้วว่ากายพร้อมใจพร้อมก็ลุยค่ะ เตรียมโบกมือลาพุงย้อยๆ ได้เลย 

ติดตามข้อมูลและบทความเกี่ยวกับคีโตต่อได้ที่;

ติดต่อเรา