ความรู้สึกและอารมณ์ ทั้งมีความสุข ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ เกิดที่สมองเป็นหลัก เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งยามหลับและยามตื่น สมองจึงเป็นอวัยวะที่ต้องการอาหารตลอดเวลา และอาหารที่แตกต่างกันก็ให้ผลลัพธ์ในการทำงานของสมองที่แตกต่างกันด้วย รวมถึงอารมณ์ของเราเช่นเดียวกัน
อยากอารมณ์คงที่ต้องเน้นสารอาหารกลุ่มนี้
- โปแตสเซียม ทำให้หัวใจทำงานปกติ และนอนหลับได้ดี พบได้มากในผักผลไม้ เช่น อโวคาโด มันหวาน ผักโขม น้ำมะพร้าว
- วิตามินบี ลดความวิตกกังวล และนอนหลับดี พบมากในธัญพืช ถั่ว เมล็ด ผักใบเขียว
- แคลเซียม ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดความเครียด สามารถได้จากการรับประทานชีสและโยเกิร์ต
- โอเมก้า 3 ช่วยให้สมองทำงานได้ดี พบมากในน้ำมันปลา
- ไอโอดีน ส่งเสริมการทำงานของต่อมไทรอยด์และสุขภาพของสมอง สามรถได้จากการรับประทานได้จากสาหร่ายทะเล
น้ำตาลเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อสมองเรา น้ำตาลกลูโคสให้พลังงานแก่สมอง ทำให้สมองหลั่งสารโดปามีน ทำให้ร่างกายรู้สึกดี และทำให้ต้องการน้ำตาลเพิ่ม แต่หากมีน้ำตาลในเลือดมาก สมองจะทำงานไม่ดี อาจทำให้สมองตื้อ มีปัญหาด้านความจำ หากน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้รู้สึกหงุดหงิด สมาธิไม่ดี
ในคนที่ติดความหวาน ต้องการจะเลิกอาการติดน้ำตาล สามารถทำได้โดยการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 จะช่วยกระตุ้นสารเคมีในสมองให้มีการจัดระเบียบใหม่ของสมอง
นอกจากอาหารแล้ว ฮอร์โมนที่ไม่สมดุลก็มีผลกับอารมณ์ของเราเช่นเดียวกัน
ฮอร์โมนที่เราต้องใส่ใจเพื่อให้อารมณ์คงที่
เซโรโทนิน
เรียกง่ายๆ ว่า ฮอร์โมนความสุข โดยเป็นสารสื่อประสาทและฮอร์โมนที่ทำให้การนอนหลับและความอยากอาหารเป็นปกติ ปรับอารมณ์ให้คงที่ และ ลดความเจ็บปวด
โดย 95% ของเซโรโทนิน ผลิตที่ระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมีเซลล์ประสาทนับร้อยล้านเซลล์ เห็นได้ว่าระบบทางเดินอาหาร ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ย่อยอาหาร แต่ยังกำหนดอารมณ์ด้วย แบคทีเรียดีในทางเดินอาหาร นอกจากจะช่วยป้องกันสารพิษและกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ควบคุมการอักเสบ ช่วยให้การดูดซึมสารอาหารดีขึ้น และสร้างเส้นทางของสารสื่อประสาทเชื่อมต่อระหว่างทางเดินอาหารกับสมอง ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียชนิดดี เช่น โยเกิร์ต กิมจิ นัตโตะ รวมถึงผักผลไม้ที่เป็นอาหารของแบคทีเรียเหล่านี้
คอร์ติซอล
เป็นฮอร์โมนเครียดเกิดจากความเครียด ทำงานมากเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ และส่งผลให้มีความวิตกกังวล
อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
รอบเดือนของผู้หญิงมีผลต่ออารมณ์ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลายตัว ช่วงก่อนมีประจำเดือนและช่วงมีประจำเดือน ควรรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น อโวคาโด อาหารที่มีวิตามิน B1 B2 สูง เช่น ธัญพืช ผักใบเขียว วิตามินดี แคลเซียม โอเมก้า-3 และดาร์กช็อกโกแลต จะสามารถลดอาการไม่พึงประสงค์ในช่วง PMS และช่วงมีประจำเดือนได้
ไทรอยด์
ฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สมดุลสามารถแก้ไขได้โดยการปรึกษาแพทย์ หากฮอร์โมนไทรอยด์มากหรือน้อยเกินไป ทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า หรือเซื่องซึม วิตกกังวล หรือตื่นเต้นเกินไป นอนไม่หลับ ความจำไม่ดี อารมณ์แปรปรวนได้
นอกจากนี้ การนอนก็ถือเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจ หากนอนไม่พอ ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวล หรือไม่สบายตัวได้
ที่มา
https://www.health.com/condition/pms/pms-foods
https://www.youtube.com/watch?v=9MpeSudXyRs
https://www.sciencealert.com/research-shows-sugar-can-change-your-brain-here-s-how
https://www.btf-thyroid.org/psychological-symptoms-and-thyroid-disorders